รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ศานติกรศิ์ วงค์เขียว
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

     การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาประยุกต์ (Research and Development Applied) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวมโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่มีการปฏิบัติดี (Good Practice) โดยการศึกษาพหุกรณี (Multi-Case Studies) จำนวน 5 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 12 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหาร เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวมโดยการสำรวจความคิดเห็น (Survey Research) ของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 381 โรงเรียน สัมภาษณ์ (Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 7 โรงเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
     1. รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย เครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก 2) กระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การส่งเสริมสนับสนุน การประสานงาน การควบคุม และการรายงานผล 3) ผลผลิต ประกอบด้วย มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มาตรฐานด้านการบริหารจัดการเรียนร่วม และ มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย เงื่อนไขภายในและเงื่อนไขภายนอก
     2. รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

THE ADMINISTRATION MODEL FOR ENHANCING MAINSTREAMING STANDARD OF INCLUSIVE SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISION

     The research, characterized as an applied research and development, aimed at developing the administration model for enhancing mainstreaming standard of inclusive school under the Office of the Basic Education Commission. The research procedure   followed 3 steps. 1) Studying problems and ways to solve the model for enhancing mainstreaming standard of inclusive schools under the Office of the Basic Education commission by interviewing 3 school directors of best practiced school in the inclusive school and 5 education experts. 2) Constructing a draft the model for enhancing mainstreaming standard of the inclusive school by using connoisseurship group discussion of 12 education professors. 3) Evaluating the proposed model for enhancing mainstreaming standard of inclusive school by a survey of 381 school directors' opinion concerning the feasibility and the utility of the proposed model including a focus group of 7 school directors. Statistics for data analysis employed mean average and the standard deviation. The findings of the research were:
     1. There were 4 components of the administration model for enhancing mainstreaming standard of inclusive schools under the Office of the Basic Education commission: 1) Input component, consisting of both internal and external networks. 2) Process component, consisting of planning, organizing, supporting, coordinating, controlling and reporting.
3) Product component consisting of learner standard, teaching and learning standard, inclusive learning standard and learning community standard. 4) Conditions for success, consisting of internal and external conditions.
     2. The administration model for enhancing mainstreaming standard of inclusive schools was rated at the high level of feasibility and at the highest level of utility.

Article Details

How to Cite
วงค์เขียว ศ., & กอนพ่วง อ. (2017). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 19(2), 230–244. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/89866
Section
Research Articles