รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

สุพล จันต๊ะคาด

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพ แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพและวิธีการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา จำแนกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพ แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพและวิธีการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
9 คน และ 3) การประเมินรูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการประชาพิจารณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า
     1. องค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพ แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพและวิธีการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา และวิธีการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา
     2. รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก เช่นเดียวกันกับองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ด้าน โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง และการสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
     3. ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบไปใช้ โดยภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากในทุกองค์ประกอบ

A MODEL FOR PROMOTING A QUALITY CULTURE IN SCHOOL OF THE PRIMARY EDUCATION AREA OFFICE

     The main purpose of this research was to explore a model for promoting a quality culture in schools of the Primary Education Area Office. The research and development followed 3-stepped procedure: 1. Studying components of quality culture, the guidelines of promoting the quality culture, and methods of promoting the quality culture in schools by synthesis documents and interview experts. 2. Constructing and validating a model for promoting a quality culture in schools of Primary Education Area Office by focus group discussion among the 9 cultural specialists. And 3. Evaluating the constructed model of promoting the quality culture in the schools by a public hearing. The research found that:
     1. The preliminary frame of promoting a quality culture in schools consisted of 3 aspects: 1) Components of a quality culture in schools, 2) guidelines of promoting the quality culture, and 3) methods of promoting the quality culture in schools.
     2. The model for promoting a quality culture in schools consisted of the similar aspects found in 1. an addition of 3 success conditions as the Participation of personnel and those who  involved, two-way communication in schools and establishing trust in the personnel and those who involved.
     3. The evaluation of the constructed model for promoting a quality culture in schools of the Primary Education Area Office yielded a high level of possibility and usefulness for the implementation, both as a whole and the separate component.

Article Details

How to Cite
จันต๊ะคาด ส. (2017). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 19(2), 260–272. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/89875
Section
Research Articles