การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน : การวิเคราะห์อภิมาน

Main Article Content

รัตนะ บัวสนธ์
เอื้อมพร หลินเจริญ
นันทิมา นาคาพงศ์
ประภัสสร วงษ์ดี
ยุพิน โกณฑา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่ทำการศึกษาประสิทธิภาพการสอนในด้านการตีพิมพ์และผู้วิจัย ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย และด้านระเบียบวิธีวิจัย 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนจำแนกตามประเภทรูปแบบการสอน 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนที่จำแนกตามตัวแปรคุณลักษณะของงานวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในประเทศไทยที่ทำขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2542-2551 จำนวน 37 เล่ม รวบรวมข้อมูลจากตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 16 ตัวแปร โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย แล้วนำข้อมูลมาสังเคราะห์ตามวิธีของ Glass ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 37ค่า แบ่งเป็นรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟฟิก 1 ค่า รูปแบบการสอนแบบโครงการ 4 ค่า รูปแบบการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ 12 ค่า รูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการ 19 ค่า และ รูปแบบการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ 1 ค่า จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลด้วย Kruskal-Wallis Test เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลแยกตามประเภทรูปแบบการสอนและตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. งานวิจัยที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในระหว่างปี พ.ศ.2550 - 2551 สถาบันที่ผลิตงานวิจัยด้านทักษะการคิดวิเคราะห์มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ หลักสูตรและการสอน ผู้วิจัยเพศหญิงผลิตงานวิจัยมากกว่าผู้วิจัยเพศชาย วิชาที่ทำการวิจัยมากที่สุด คือ วิชาวิทยาศาสตร์ มีการนำทฤษฎี/แนวคิดของ บลูมมาใช้ในการวิจัยมากที่สุด ศึกษากับระดับช่วงชั้นที่ 3 มากที่สุด รูปแบบการสอนที่ศึกษามากที่สุด คือ รูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการ มีการตั้งสมมุติฐานแบบมีทิศทาง การออกแบบการวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ แบบ Randomized Control-Group Pretest-Posttest Design วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุด คือ การสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหรือแบ่งพื้นที่ มีการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานมากที่สุดได้แก่ สถิติ t-test ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือใช้ตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ยงานวิจัยแต่ละเล่มมีจำนวนชั่วโมงที่ทำการทดลอง 17 ชั่วโมง ความเที่ยงของเครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตาม มีค่าเฉลี่ย .83 ขนาดกลุ่มทดลองโดยเฉลี่ย จำนวน 35 คน

2. ค่าขนาดอิทธิพล หรือประสิทธิภาพการสอนมีค่าเฉลี่ย 1.03 และผลการวิเคราะห์เพื่ออธิบายความแตกต่างของขนาดอิทธิพล พบว่า รูปแบบการสอนทั้ง 5 ประเภทมีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรูปแบบการสอนแบบโครงการและรูปแบบการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ มีประสิทธิภาพสูงกว่ารูปแบบการสอนประเภทอื่น ๆ

คำสำคัญ : การคิดวิเคราะห์, การสังเคราะห์งานวิจัย, การวิเคราะห์อภิมาน

 

Abstract

This research was a quantitative synthesis of research using meta-analysis techniques. The purpose were 1) to study research characteristics, published and researcher, content of research and research methodology 2) to compare the effect sizes according to instructional models and 3) to compare the effect sizes according to research characteristics. The research to be synthesized consisted of 37 quantitative research studies using experimental designs, published during 1999 – 2008 on Thailis Database. Those 16 research characteristics variables were gathered by study using characteristics recording form. Data were analyzed using Glass’s methodology. The total units of analysis consisted of 37 effect sizes. There were one graphic organizer instruction, four project based instructions, twelve emphasize on skills instructions, nineteen emphasize on integration instructions and one using computer media instruction. The collected data were analysed by descriptive statistics and analysis of variance (Kruskal-Wallis Test).

The results of research synthesis were:

1. Research characteristics used for this synthesis could be summarized as follows. Mahasarakarm University had the most research about analytic thinking. Most research studies were conducted : under the Division of Curriculum and Instruction, by researchers,in Mathematics. Most research studies were used Bloom’s theory, conducted with Matthayomsuksa 1 to Matthayomsuksa 3 students. Most instructional models were the emphasize on integration instruction. Hypotheses were put forward to certain directions. Most research studies were used experimental design under the Randomized Control-Group Pretest-Posttest Design. Samples were selected by utilizing the cluster random sampling technique, used the sampling technique for most of random assignments. Most collected data were analysed by t-test. The most researchers were developed the tools of their research by themselves. The mean of periods of experimental studies was 17 hours, the mean of the coefficients of reliability of tools that were measured Analytical Thinking Skills was .83. The number of samples in experimental group was 35.

2. The research results showed that were the following.1) The average effect size was 1.03 2) explain the variations in effect size, all five Factors significantly accounted for the variation in effect size measures. The emphasize on skills instruction and the project based instruction were more associated with the effect size than the emphasize on integration instruction.

Key words : Analytical Thinking, Synthesis Research, Meta Analysis

Article Details

How to Cite
บัวสนธ์ ร., หลินเจริญ เ., นาคาพงศ์ น., วงษ์ดี ป., & โกณฑา ย. (2013). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน : การวิเคราะห์อภิมาน. Journal of Education and Innovation, 12(3), 19–32. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9294
Section
Research Articles