รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย

Main Article Content

พีรพัฒน์ วัชรินทรางกูร
วิทยา จันทร์ศิลา
เถลิงศก โสมทิพย์
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion ) จากผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย 2) การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย มีการตรวจสอบรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ทดลองใช้ในโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โดยการจัดประชุมประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ครูหอพักนักเรียนประจำ และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย พบว่า โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ มีการบริหารงานเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มบริหารวิชาการ โดยการสอดแทรกไว้ในการจัดการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งไม่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆ ไปในการพัฒนาพัฒนาพหุปัญญาทุกๆ ด้านในตัวเด็กนักเรียน 1 คน เลือกเน้นเฉพาะความสามารถที่นักเรียนแสดงออกเท่านั้น  ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนในรูปโครงการ/กิจกรรมเสริม  แต่ไม่มีการวัดและประเมินผลความสามารถทางพหุปัญญา

2. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยที่สร้างขึ้น พัฒนาจากระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated Educational Management System : iEMS) ประกอบด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้

2.1 ภาพลักษณ์ความสำเร็จ (Success Image) ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย

2.2 โครงสร้างการบริหาร (Organization Structure) ประกอบด้วย กลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารงบประมาณ และกลุ่มบริหารหอพักนักเรียนประจำ

2.3 การบริหารจัดการ (Management) ได้แก่ กลยุทธ์ (Strategy) ในการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญา ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม (Participation) การระดมทรัพยากร (Mobilization) และความเป็นอิสระ (Autonomy)

2.4 การกำกับติดตาม (Monitoring) โดยเน้นกระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลแบบ 360องศา ตามสภาพจริงทุกรายการ

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย พบว่า นักเรียนมีความสามารถทางพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทั้ง 9 ด้าน โดยพหุปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวเป็นด้านที่นักเรียนผ่านเกณฑ์มากที่สุด รองลงมาคือ พหุปัญญาด้านภาษา ส่วนพหุปัญญาด้านที่มีนักเรียนผ่านเกณฑ์น้อยที่สุด คือ พหุปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย พบว่า ฝ่ายบริหาร ครูที่ปรึกษา ครูบ้าน และผู้ปกครองนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย มีความเหมาะสมและสามารถส่งผลต่อการพัฒนาพหุปัญญาทั้ง 9 ด้านของนักเรียน และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : พหุปัญญา, รูปแบบการบริหาร, โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย

 

Abstract

The main purpose of this research was to develop an administration model for developing multiple intelligences of Kanchanapisek Wittayalai School students. Four sub-purposes were set as the guidelines for research procedures 1) to study administration state for developing multiple intelligences of the school students 2) to formulate the model for developing multiple intelligences of the school students 3) to experiment the formulated model for developing multiple intelligences of the school students 4) to evaluate the experimented model for developing multiple intelligences of the school students. The research procedures were carried out through 4 stages 1) analyzing related documents and researches, interviewing experts and conducting focus group discussion among Kanchanapisek Wittayalai School administrators 2) formulating the hypothetical model based upon the results from  stage 1) 3) experimenting the hypothetical model with Kanchanapisek Wittayalai School, Phetchaboon, which was purposively selected as the  sample, and 4) evaluating the experimented model for the impacts on the students multiple intelligence development  through the public hearing from vice president of school corporation, counseling teachers, home teachers and parents of M.S. 1- student

The results revealed as follows :

1) The state of the administration for developing students’ multiple intelligences of all nine Kanchanapisek Wittayalai Schools of the country is still not clearly structured ; activities for development of students’ multiple intelligences are found to be carried out in the form of projects and extra curricular activities, but  there appear to be some shortcomings, especially lacking  standard follow up procedure.

2) The administrative model for developing multiple intelligences of Kanchanapisek Wittayalai School students consists of the following components:

2.1 Success image : vision, mission, and purpose

2.2 Organization Structure : general administration, academic administration, personnel administration, finance administration, and boarding - school dormitory administration

2.3 Management : strategy ,mobilization, participation, autonomy, and the activities conducted to develop students multiple intelligences, multiple intelligences, which consist of : 3 activities integrated into 8 subject group curriculum , 4 student-developing activities, 5 extra curricular activities, and 5 boarding school dormitory activities

2.4 Monitoring : supervision and evaluation

3) Results of the model experiment  :  the students  passed the 80 % set criterion of  multiple intelligence in all 9 dimensions ; the most criterion passing  were the  students with bodily and kinesthetic intelligence and the second most criterion passing was linguistic intelligence.  The least criterion passing was logical and mathematics intelligence

4) Results the model evaluation : the administrators, counseling teachers, home teachers, M.S.1- student guardians concurred that the administration model for developing multiple intelligences of Kanchanapisek Wittayalai Schools is appropriate and will impact the development of all nine dimensions of students intelligence. Also, all of them expressed a high level of satisfaction.

Article Details

How to Cite
วัชรินทรางกูร พ., จันทร์ศิลา ว., โสมทิพย์ เ., & มีแจ้ง ส. (2013). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย. Journal of Education and Innovation, 12(3), 77–96. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9299
Section
Research Articles