การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

โสภา อำนวยรัตน์
เจิดหล้า สุนทรวิภาต
สุนทร คล้ายอํ่า
ไพโรจน์ ด้วงนคร

Abstract

บทคัดย่อ

Pairoad Duangnakhonการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์คือ1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า

1.1 วิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยมีการดำเนินงานทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ การดำเนินการ และการรายงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและรองรับการประกันคุณภาพจากภายนอก การดำเนินการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้วงจรการบริหารมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา คือ วงจร P-D-C-A มาจาก Plan-Do-Check-Act แต่ยังขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง ขาดระบบการบริหารคุณภาพที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถานศึกษา และขาดความต่อเนื่องในระบบการบริหารคุณภาพ

1.2 การวิเคราะห์เกี่ยวกับเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ หรือ Total Quality Management (TQM) เข้าไปในวงจร P-D-C-A ซึ่งเป็นเครื่องมือการบริหารสมัยใหม่ในการพัฒนาระบบราชการไทย โดยยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การเป็นการจัดให้มีการบริหารคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานในทุกๆ ส่วนขององค์การเพื่อให้สามารถสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งภายนอกและภายในองค์การได้มากที่สุด ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์จึงสรุปองค์ประกอบได้ทั้งหมด 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนดำเนินการ 2) ด้านการจัดสร้างระบบคุณภาพ 3) ด้านการดำเนินงานบริหารคุณภาพ 4) ด้านการควบคุมกระบวนการบริหารคุณภาพ 5) ด้านการติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล 6) ด้านการทบทวนผลลัพธ์และความสำเร็จ และ 7) ด้านการส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

2. ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า

2.1 สภาพปัจจุบันของการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการวางแผนดำเนินการ (Plan) 2) ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) 3) ด้านการดำเนินการตามแผน (Do) 4) ด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุง (Act)

2.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการวางแผนดำเนินการ 2) ด้านการติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล 3) ด้านการจัดสร้างระบบคุณภาพ 4) ด้านการส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพอย่าง 5) ด้านการดำเนินงานบริหารคุณภาพ 6) ด้านการทบทวนผลลัพธ์และความสำเร็จ 7) ด้านการควบคุมกระบวนการบริหารคุณภาพ

2.3 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีดังนี้ 1) ปัจจัยด้านการวางแผนดำเนินการ 2) ปัจจัยด้านการจัดสร้างระบบคุณภาพ 3) ปัจจัยด้านการดำเนินงานบริหารคุณภาพ 4) ปัจจัยด้านการควบคุมกระบวนการบริหารคุณภาพ 5) ปัจจัยด้านการติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล 6) ปัจจัยด้านการทบทวนผลลัพธ์และความสำเร็จ 7) ปัจจัยด้านการส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง2.4 ลำดับขั้นการเข้าสมการของตัวแปรพยากรณ์ พบว่า ด้านการวางแผนดำเนินการ สามารถอธิบายความแปรปรวนของการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ร้อยละ 45.30

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารคุณภาพ การบริหารคุณภาพ

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the current quality management in Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission 2) to study factors which influenced the quality management in Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission. The findings showed that:

1. According to the study of the current quality management in Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission, it was found that:

1.1. Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission had internal quality assurance procedures which comprised of 3 processes: preparation procedure, implementation and report in order to develop education quality and standard and also support external quality assurance. PDCA cycle which stood for Plan-Do-Check-Act was used as a model to develop quality management in the educational institute. However, there were lack of precise information collection, clear process of quality management system, participation of internal staff in the educational institute, and continuity of quality management system.

1.2. According to documents analysis and related study of quality management in order to develop the model of quality management in Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission, the concept of Total Quality Management (TQM) was applied to PDCA cycle. TQM was a recent tool to develop Thai government system by the strategy of Office of the Public Sector Development Commission Thailand. Moreover, TQM led to quality management and also the efficiency in every sector in an organization in order to satisfy both external and internal customers and also respond their demands. According to the study, there were seven elements: 1) planning 2) creating a quality system 3) implementing a quality management 4) controlling a quality management 5) tracking and assessing progress 6) reviewing outcomes and success 7) encouraging everybody to participate in continuous quality improvement

2. According to the study about factors which influenced the quality management in Industrial and Community Education College be under Vocational Education Commission, the results showed that:

2.1 Industrial and Community Education College had a quality management practice at a high level. Specifically, plan, do, check, and act were rated ranked in order from the highest scores to the lowest, respectively.

2.2 The opinions about factors which influenced the quality management were at a high level. The opinion about 1) planning 2) progress tracking and assessment 3) quality system creation 4) encouragement in participation of continuous quality improvement 5) quality management implementation 6) review of outcomes and success 7) quality management control system were rated high ranked in order from the highest scores to the lowest, respectively.

2.3 Variables which were related to factors influenced quality management were: 1) planning) 2) quality system creation 3) quality management implementation 4) quality management control system 5) progress tracking and assessment 6) review of outcomes and success 7) encouragement in participation of continuous quality improvement

2.4 Planning could be used to explain quality management variance of Industrial and Community Education College at 45.30%

Key Words : Model development for quality management, Quality management

Article Details

How to Cite
อำนวยรัตน์ โ., สุนทรวิภาต เ., คล้ายอํ่า ส., & ด้วงนคร ไ. (2013). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Journal of Education and Innovation, 14(3), 15–26. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9336
Section
Research Articles