ทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงไว้ของภาษาชนกลุ่มน้อย

Main Article Content

Yang Wenxue
Totsaphon Arinit
Sornchai Mungthaisong
Lelar Treeaekanukul

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่ออนุรักษ์ภาษาของชนกลุ่มน้อย พื้นที่ศึกษาคือชุมชนที่ยังคงใช้ภาษาฮาหนีในชีวิตประจำวัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยด้านมานุษยวิทยาภาษาสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดสัมมนา เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง

ผลการศึกษา พบว่า ภาษาฮาหนี ยังคงมีความสำคัญต่อสมาชิกของหมู่บ้านไหมชง เพราะยังคงมีการใช้ภาษาฮาหนี ในชีวิตประจำวันกันอยู่ แต่แนวโน้มที่พบแสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษาฮาหนีที่จำนวนผู้ใช้ค่อยๆ ลดลงตามลำดับ จนอาจทำให้ไม่มีผู้ใช้ภาษาฮาหนีอีกต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ภาษาฮาหนีในหมู่บ้านไหมชงคือภาษาที่ใช้ในการจัดการศึกษา ที่นำเอาภาษาจีนกลางมาใช้เป็นภาษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ และยกเลิกการใช้ภาษาฮาหนีในการเรียนการสอนอย่างสิ้นเชิง

ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาด้านภาษา ดังนี้

1. รัฐบาลกลางควรกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สามารถดำเนินการได้ เช่น นโยบายการศึกษาตลอดชีวิตที่ทำให้สภาพแวดล้อมของชนกลุ่มน้อยยังคงมีการใช้ภาษาของตนและรักษาภาษาของตนให้คงอยู่

2. รัฐบาลกลางควรมีการสำรวจภาษาพูดและภาษาเขียนของชนกลุ่มน้อยด้วยการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจในการทำงานประสานกับผู้ที่ยังคง พูดและเขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยได้ รวมทั้งจัดตั้งสถาบันเพื่อการวิจัยด้านภาษา มีการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในด้านภาษาของชนกลุ่มน้อย และให้ความช่วยเหลือในการประดิษฐ์ ปรับปรุงหรือปฏิรูปภาษาเขียนของชนกลุ่มน้อย รวมทั้งส่งเสริมการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนของชนกลุ่มน้อยในทุก ๆ ด้าน

3. รัฐบาลท้องถิ่นควรจัดให้มีการรณรงค์ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการที่ทำให้ภาษาของชนกลุ่มน้อย

 

Abstract

The objective of the study is to explore the alternative approach to promote life-long education for minority language conservation. And the researcher took a Hani language speaking community as example.

Through using ethnographical sociolinguistic methods and documentary study in this study, the preliminary data were collected through interview, group discussion, and seminar. Two major data collection instruments were utilized: interview and questionnaire.The result of the study indicates that language condition in Meichong Village is that the language still has strong vitality, but it also tends to gradually decline to some degree, and is likely to be endangered in the near future. There are many factors affecting it. However, the factor that affects the language condition was caused by language education that standard Mandarin education was fully implemented while Hani language education was not maintained.

The results from this study yielded significant implication for the language education policy makers are as follows:

1. The central government should prescribe a series of related education policy, such as life-long education policy, and implement it in reality. Meanwhile, the lively linguistic community for minority language would be guaranteed and maintained.

2. The central government should make investigation of the spoken and written languages of ethnic minorities, and establish special organizations involved in work connected with the spoken and written languages of ethnic minorities to conduct research, train specialists in these languages, help minority people create, improve or reform their written languages, and promote the use of spoken and written languages of ethnic minorities in every field.

3. The local government should create the favorable environment for survival and development of minority languages.

Article Details

How to Cite
Wenxue, Y., Arinit, T., Mungthaisong, S., & Treeaekanukul, L. (2013). ทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงไว้ของภาษาชนกลุ่มน้อย. Journal of Education and Innovation, 14(3), 27–34. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9337
Section
Research Articles