วิทยฐานะของวิชาชีพครู : หนทางส่งเสริมหรือทำลายการศึกษาไทย

Main Article Content

รัตนะ บัวสนธ์
นันทิมา นาคาพงศ์
นํ้าอ้อย วันตา
ประภัสสร วงษ์ดี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานจัดทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ครู ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐาน 2) มุมมองที่มีต่อการทำผลงานทางวิชาการ 3) กระบวนการทำผลงานทางวิชาการ 4) คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการทำผลงานทางวิชาการ โดยกรณีศึกษาเป็นบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ จำนวน 3 กรณี ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่ผ่านการทำผลงานทางวิชาการ โดยกรณีที่ 1 เป็นข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ กรณีที่ 2 เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับเชี่ยวชาญ และกรณีที่ 3 เป็นศึกษานิเทศก์ระดับชำนาญการพิเศษ ทำการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) แบบพหุกรณีศึกษา (Multi Cases Study) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) และการศึกษาเอกสารหลักฐานบันทึก (Document Study) จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูล แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปอุปนัย (Analytic Induction)

ผลการศึกษาพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานของกรณีศึกษา : ทั้ง 3 กรณี สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และผู้อำนวยการสถานศึกษากำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ทั้ง 3 กรณีต่างก็ได้รับรางวัลหรือประกาศเกียรติคุณก่อนได้รับวิทยฐานะ มีวิธีการเข้ารับราชการเหมือนกัน คือการสอบคัดเลือกของส่วนกลาง เคยมีการเปลี่ยนตำแหน่งสายงานหรือโยกย้ายหน่วยงาน และรับผิดชอบงานหลักที่ตรงกับสายงาน นอกจากงานประจำแล้วผู้อำนวยการสถานศึกษายังเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการให้กับชุมชนด้วย ด้านสถานภาพสมรส ผู้อำนวยการสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์สมรสมีบุตรธิดาแล้ว ส่วนครูยังโสดแต่มีบุตรบุญธรรม ทั้ง 3 กรณีมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน ด้านการแต่งกาย ครูชอบสวมใส่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผู้อำนวยการสถานศึกษาชอบสวมใส่เสื้อสูทกางเกงและผูกเนคไทด์ ส่วนศึกษานิเทศก์ชอบสวมใส่เสื้อผ้าชุดตัด ทั้ง 3 กรณีมียานพาหนะส่วนตัวขับขี่ไปปฏิบัติราชการ มีรายรับหลักจากเงินเดือนประจำ มีการซื้อเบี้ยประกันเพื่อการคุ้มครองชีวิต และยังมีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ

2. มุมมองที่กรณีศึกษามีต่อการทำผลงานทางวิชาการ : ครูและผู้อำนวยการสถานศึกษามีมุมมองทางวิชาการ ด้านการพัฒนาระบบการศึกษาที่สอดคล้องกัน คือเห็นว่าการทำผลงานทางวิชาการก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษา และมีมุมมองทางสังคมว่า การทำผลงานทางวิชาการก่อให้เกิดการยอมรับในวิชาชีพเดียวกันและวิชาชีพอื่นด้วยว่า “ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” จึงเกิดความภาคภูมิใจสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม ส่วนศึกษานิเทศก์มีมุมมองที่แตกต่างออกไปว่า การทำผลงานทางวิชาการไม่ได้ส่งเสริมหรือเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรทางการศึกษาอย่างแท้จริง และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวทำลายการศึกษาหรือไม่ และมีมุมมองทางสังคมว่า ไม่ได้ทำให้มีการยอมรับสูงขึ้นทั้งในวิชาชีพเดียวกันและวิชาชีพอื่น แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 3 กรณีมีมุมมองที่เหมือนกันว่าการทำผลงานทางวิชาการก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง ก่อให้เกิดการมีรายได้เพิ่ม และปรับเปลี่ยนบัญชีอัตราเงินเดือนตามวิทยฐานะที่สูงขึ้น

3. กระบวนการทำผลงานทางวิชาการของกรณีศึกษา : แรงจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการมาจาก การได้รับการกระตุ้นจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผู้บังคับบัญชา เงินเดือนถึงเกณฑ์ในการส่งผลงานทางวิชาการ เงินเดือนเต็มขั้น และการมีภาวะผู้นำ การกำหนดประเด็นปัญหา ทั้ง 3 กรณี เป็นผู้คิดด้วยตนเองและเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบโดยตรง การกำหนดหัวข้อมีความเหมาะสมกับความสามารถของตนเองและมีความเป็นไปได้ในการจัดทำ มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยตนเอง มีการดำเนินงานตามขั้นตอนแบบปกติตามกระบวนการที่เหมาะสมและเกิดผลลัพธ์ตามลำดับ ไม่ได้จ้างบุคคลอื่น ส่วนด้านงบประมาณ ครูและผู้อำนวยการสถานศึกษาใช้งบประมาณส่วนตัว ศึกษานิเทศก์ใช้งบประมาณของหน่วยงาน

4. คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการทำผลงานทางวิชาการ : ผลงานทางวิชาการมีผลกระทบทางบวกต่อนักเรียน ครู เพื่อนร่วมวิชาชีพ โรงเรียน และวงการศึกษา คือก่อให้เกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญทางวิชาการให้กับตนเอง ทำให้ได้เงินค่าวิทยฐานะเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ได้รับเกียรติ และการยอมรับจากสังคม นอกจากนี้ผู้อำนวยการสถานศึกษายังมีผลกระทบทางบวกต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย

คำสำคัญ : วิทยฐานะ, วิชาชีพครู, ผลงานทางวิชาการ

 

Abstract

The purposes of this research were to study background processes and step on the producing academic papers of educational personnel; namely, the teacher, the director of school and the supervisor. The issues of this research were divided in to 4 parts were : 1) the background of cases study 2) the view of cases study on the producing academic papers 3) the processes of cases study on the producing academic papers and 4) the opinion of the cases study on the value from the producing academic papers. The three cases were selected from the educational personnel in the educational service area office who submitted for position improvement and who submitted their work accomplishment papers. The first case was the teacher who submitted senior professional, expert; the second case was the director of school who submitted expert and the third case was the supervisor who submitted senior professional, expert. This research used the qualitative research methodology in the type of multi cases study. The data for the research were collected by the in-depth interview, the group interview, the participation observation and the document study. The data were checked completely and then analyzed by the analytic induction.

The results of this research were:

1. The background of cases study: All of cases finished the Master Degree and the director of school was studying the Doctoral Degree. All of them received the educational rewards before submitted their work accomplishment papers, were selected from the government for admitted their works, removed the offices and improved the position and the director had the others position in his public too. The director and the supervisor are married and had children and a son respectively, the teacher is single but had a stepchild. All of them live in their own house with the convenience and necessary furniture. The teacher always wear the readymade clothes, the director of school always wear a man‘s suit with tie and the supervisor always wear the handmade clothes. All of them drove their own car to work, had main income from their salaries, bought insurance policy and the debts had to pay.

2. The view of cases study on the producing academic papers : The teacher and the principle of school had the same view that the academic papers lead to development of educational system and encourage them to be a social prestige on the same and the others professional social that “teacher is the high professional” and made them proud, but the supervisor had not sure that the academic papers either lead to develop or destroy the educational system and think that the academic papers not lead her to be a more social prestige on the same and the others professional social. All of them had the consistency views that the academic papers were promotion for higher ranking and salary depend on the higher accreditation.

3. The processes of cases study on the producing academic papers: The motivation on the academic papers were the support from colleagues, the support from the director, the salary met the criterion of the conducting of the academic papers, the promotion higher ranking and salary and the leadership. All of them set the problems that concerned with their works by themselves, set the topics suitable with their capacities and feasible to conduct, planned and producing by themselves, produced their academic papers follow to their plan and got results, not hired anyone, and paid their own budgets for conducted their academic papers except the supervisor used the budget of her office.

4. The opinion of the cases study on the value from the producing academic papers: All of them had the consistency opinions that the academic papers had the positive effect to students, teachers, and persons in the same professional, schools, educational system. The academic papers encourage them to be the academic specialist, were promotion for higher ranking on the higher professional, proud of them, and got an honor and social prestige. In addition, the director of school had the positive effect to subordinates too.

Key words : Accreditation, Professional Teacher, Academic Papers

Article Details

How to Cite
บัวสนธ์ ร., นาคาพงศ์ น., วันตา น., & วงษ์ดี ป. (2013). วิทยฐานะของวิชาชีพครู : หนทางส่งเสริมหรือทำลายการศึกษาไทย. Journal of Education and Innovation, 14(3), 35–48. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9340
Section
Research Articles