กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

เนาวรัตน์ นาคพงษ์
สมชัย วงษ์นายะ
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสอบถามบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชร 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 196 คน ครูผู้สอน 346 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 338 คน 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำข้อมูลจากผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 นำมาจัดทำร่างกลยุทธ์ด้วยการประชุมปฏิบัติการ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 11 คน และครั้งที่ 2 จำนวน 27 คน และตรวจสอบความสอดคล้องและความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 3) ประเมินกลยุทธ์ที่ปรับปรุงแล้วใน 4 ด้าน คือ ด้านความสอดคล้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ดำเนินการในด้านการวางแผน สถานศึกษามีการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก มีหลักเกณฑ์การดำเนินงานที่ชัดเจน แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานและสถานศึกษามีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาเพื่อให้การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาได้ผลดียิ่งขึ้น ส่วนปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ขาดการกำหนดนโยบายการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนค่อนข้างน้อย การติดตามและประเมินผลไม่ต่อเนื่องและการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขขยายผลและเผยแพร่ยังไม่มีการดำเนินการเชิงประจักษ์

2. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้

2.1 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมพบว่า มีจุดแข็ง 13 ข้อ จุดอ่อน 8 ข้อ โอกาส 9 ข้อ และอุปสรรค 6 ข้อ

2.2 กลยุทธ์ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็น กลยุทธ์ 13 กลยุทธ์ 14 ตัวชี้วัด และ 19 มาตรการ

3. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านความสอดคล้องของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ มีความสอดคล้องกันในระดับมาก และในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

The objectives of this research aimed at 1) studying the states and problems of administration using sufficiency economy philosophy of basic education schools in Kamphaeng Phet Province, 2) developing administrative strategies using sufficiency economy philosophy of basic education schools in Kamphaeng Phet Province, and 3) assessing the administrative strategies using sufficiency economy philosophy of basic education schools in Kamphaeng Phet Province. The research procedures of this study consisted of 3 phases. In the first phase, the conditions and problems administration were studied by using sufficiency economy philosophy of basic education in Kamphaeng Phet Province through in-depth interviews with 3 groups of personnel administration of basic education in Kamphaeng Phet Province that were comprised of 196 administrators, 346 teachers, and 338 basic school board education committee. The second phase of the study dealt with the advancement of strategies for administrative strategies using sufficiency economy philosophy of basic education schools in Kamphaeng Phet Province. In this phase, the information studied in the first phase was utilized to initiate a protocol of strategies including 2 workshops: 11 persons in the first workshop and 27 persons in the second workshop. The strategies were validated by the connoisseurship of 8 experts. Finally, the evaluation of adjusted strategies in 4 aspects consisted of consistency, propriety, feasibility, and utility was presented to 20 experts with the strategies of administration using sufficiency economy philosophy of basic education schools.The research indicated that:

1. The crucial states of administration using sufficiency economy philosophy of basic education schools in Kamphaeng Phet Province were found that most schools were able to move forward with plans, used information in environmental analysis, established clear working standards, established evaluation committee to move the sufficiency economy philosophy forward in schools. The crucial problems consisted of policies deficiency, too little proceeding of following the plan that would support the integration between the philosophy and teaching, discontinuing of following and evaluation and having no empirical operation of developing, adjusting, resolving and disclosing.

2. The development of strategies for administrative strategies using sufficiency economy philosophy of basic education schools in Kamphaeng Phet Province comprised of:

2.1 The SWOT analysis revealed that there were 13 strengths, 8 weaknesses, 9 opportunities, and 6 threats.

2.2 The developed strategies consisted of a vision, 4 missions, 4 goals, 4 strategic issues, 13 strategies, 14 measures, and 19 indicators.

3. The consistencies of the administrative strategies using sufficiency economy philosophy of basic education in Kamphaeng Phet Province involved the consistency of vision, missions, goals, strategic issues, strategies, measures, and indicators were at a high level of consistency. The propriety along with feasibility and utility of strategies, measures, and indicators resulted in a high level of assessment.

Article Details

How to Cite
นาคพงษ์ เ., วงษ์นายะ ส., & เชาวกีรติพงศ์ ท. (2013). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. Journal of Education and Innovation, 14(3), 49–60. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9346
Section
Research Articles