การพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์
ประหยัด จิระวรพงศ์
อนิรุทธ์ สติมั่น
สุรพล บุญลือ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตระดับอุดมศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตระดับอุดมศึกษา 3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเอง 4) ศึกษาการเรียนรู้แบบนำตนเองผ่านเว็บไซต์การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองการดำเนินการวิจัยได้พัฒนารูปแบบขึ้นโดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ประกอบด้วย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจำนวน 10 คน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจำนวน 10 คน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรจำนวน 10 คน รวมจำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระบบการจัดการความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 2) ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยดังนี้ 2.1) ด้านการแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) 2.2) การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) 2.3) การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage and Retrieval) 2.4) การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ 2.5) การติดตาม/ตรวจสอบ 3) ด้านการควบคุม (Control) 4) ด้านปัจจัยนำออก (Output) และ 5) ด้านข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่ใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยรวมผลสัมฤทธิ์ทางด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในการประยุกต์ใช้ความรู้ของนิสิตอยู่ระดับความพอใจมาก (X= 4.53, SD=.38) มีค่าระดับคะแนนอยู่ระหว่าง 60-100 คะแนน เท่ากับ s (satisfied) แสดงว่านิสิตผ่านการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

3.ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพบว่านิสิตมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปิดเผยและมีความอิสระมากยิ่งขึ้น กล้าคิด กล้าแสดงออก

4. ผลวิเคราะห์คุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเองหลังจากการเรียนรู้ด้วยระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองพบว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้แบบนำตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยการเรียนรู้แบบนำตนเองผู้เรียนจะต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นหลักภายใต้กระบวนการกลุ่มมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองและต่อขั้นตอนกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้

5. ความพึงพอใจที่มีต่อระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเอง นิสิตมีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.93, SD=.66)

คำสำคัญ : ระบบการจัดการความรู้, การเรียนรู้แบบนำตนเอง

 

Abstract

This research paper aims to study the following issues: 1) to develop a knowledge management system available on the internet towards the self-directed learning of university students, 2) to study the outcome of such the learning approach, 3) to observe studying behavior of the target students, 4) to investigate a learning experience interacting through web-based sites, and 5) to obtain satisfaction level of the students made towards the knowledge management-oriented method on the internet networking. The developmental patterns were created and developed by the researchers; they were assessed by 5 distinguished experts. The thirty target students were all seniors; ten of which were from the Faculty of Education, Silpakorn University, the Faculty of Industrial Education and Technology, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, and the Faculty of Education, Naresuan University. Statistical analysis was carried out using average, standard deviation, and the T-Test.

The research findings reveal that:

1. Knowledge management system on the internet comprises 5 key components: 1) input, 2) process (knowledge acquisition, knowledge creation, knowledge storage and retrieval), 3) control, 4) output, and 5) feedback.

2. Student evaluation reflects that self-directed learning activities prove to be a valuable tool to increase professional experience of the students and that application of knowledge is satisfactorily implemented (X= 4.53, SD= .38). The target students receive the scale of between 60-100, equated to ‘s’, in their professional training course.

3. Learning activities supported by knowledge management system results in a better learning experience of the students, i.e., they are more creative, independent, and confident.

4. The self-directed learning analysis exhibits that the learners tend to be more oriented towards self-directed learning, which allows them to study independently and encourages them to expand assigned activities to achieve a defined objective. It is apparent that the knowledge management system based on self-directed learning is highly satisfactory (X= 3.93, SD = .66).

Key words : Knowledge Management System, Self Directed Learning

Article Details

How to Cite
สิทธิวงศ์ ท., จิระวรพงศ์ ป., สติมั่น อ., & บุญลือ ส. (2013). การพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตระดับอุดมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 14(3), 71–80. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9350
Section
Research Articles