การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ผ้าทอ: การประยุกต์ลวดลายฉลุปิดทองเสาพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อวิเคราะห์ลวดลายฉลุปิดทองเสาพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก (2) เพื่อออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากการประยุกต์ลวดลายฉลุปิดทองเสาพระวิหาร (3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จากการประยุกต์ลวดลายฉลุปิดทองเสาพระวิหาร (4)เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ลวดลายฉลุปิดทองเสาพระวิหาร ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการทางธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตรกรรมไทย จำนวน 3 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบลวดลายผ้าทอ จำนวน 5 ท่าน อาจารย์แผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ จำนวน 35 ท่าน ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จำนวน 20 ท่านและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จำนวน 100 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินและแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ลวดลายฉลุปิดทองเสาที่พบบนเสาพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหารจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย 5 ลาย ได้แก่ ลายหน้ากระดานลูกฟัก ลายประจำยามก้ามปู ลายเชิงกรวย ลายบัวคว่ำ – บัวหงายและลายพุ่มข้าวบิณฑ์หน้าสิงห์ขบ
2. ผลการนำลายทั้ง 5 ลาย มาออกแบบเป็นลวดลายผ้าทอได้ 3 ลาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบลวดลายผ้าทอมีความเห็นว่า ลวดลายที่ออกแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ลายโดยลายที่ 2 มีความเหมาะสมโดยรวมมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ในด้านคุณค่าของลวดลาย ด้านองค์ประกอบของลวดลาย ด้านรูปแบบของลวดลายและด้านความเหมาะสมของวิธีการผลิต
3. โคมไฟไม้แบบตั้งพื้นทำจากผ้าทรงปริซึมสี่เหลี่ยม คล้ายบานหน้าต่าง ขนาดสูง 1.10 เมตร กว้าง20 เซนติเมตร และฐานสูง 10 เซนติเมตร ทำจากผ้าทอลวดลายที่ 2 ที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ลวดลายฉลุปิดทองเสาพระวิหาร
4. อาจารย์แผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มผู้ประกอบกิจการและบริโภคผลิตภัณฑ์ผ้าทอมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจอยู่ในระดับมาก
Abstract
The research purposes were as follows; (1) to study the gilded perforating pattern of thepillars in Wihan of Watphrasrirattanamahathatworamahavihan, Phitsanulok, (2) to design textileproducts by applying the gilded perforating pattern from wihan pillars, (3) to develop textile byapplying the gilded perforating pattern from wihan pillars, and (4) to study the possibility of applyingthe gilded perforating pattern to use in teaching and business operations. Research data drawn fromthe subjects consisted of 3 specialists in Thai painting, 5 specialists in textile designers, 35 teachersfrom the Department of Textiles and Apparels of vocational colleges in the Northern Region, 20members of the textile entrepreneurs, and 100 members of textile consumers. The instrument usedfor data collection was a rating-scale questionnaire. Computer software package of SPSS was usedfor data calculation. Statistical device used for data presentation were mean and standard deviation.
The results revealed as follows:
1. The gilded perforating pattern, found on the pillars in Wihan ofWatphrasrirattanamahathatworamahavihan, Phitsanulok consisted of five patterns i.e. Lai Na KradanLukfak, Lai Prachamyam Kampu, Lai Choengkruai, Lai Bua Khwam - Bua Ngai, and LaiPhumkhaobin Na Sing Khop.
2. The live patterns of Wihan of Watphrasrirattanamahathatworamahavihan, Phitsanulokwere designed to be three patterns of hand-woven cloth, that the specialists in textile designerviewer that all 3 designs were overall-appropriateness at high level, the second pattern was the mostappropriate pattern considering by value, elements, format of the pattern, and the productionmethod.
3. The wooden floor-lamp of rectangular prism and window-liked shape made from wovenfabric with 1.10 meters high, 10 cms. base high and 20 cms. front wide the lamp was made fromwoven fabric, pattern number 2 that applied from the gilded perforating pattern of the in wihanpillars.
4. The instructors from the Department of Textiles and Apparels expressed that thepossibility to apply the knowledge of the art-lined development for hand-woven cloth for teachinglearning activities was at the highest level while the entrepreneurs and the consumers indicated athigh level for business activities.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.