การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

Main Article Content

ธวัช ยะสุคำ
ศักดิ์ศรี สุภาษร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ จำนวน 15 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จำนวน 34 คน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (ค่าเฉลี่ย = 28.62 และSD = 3.73) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 21.18 และ SD = 3.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนทักษะการคิดวิพากษ์หลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 28.6 และ SD = 4.18) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย = 23.56และ SD = 3.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ผู้สอนได้ใช้กิจกรรมทำนาย-สังเกต-อธิบาย(POE) ในการสร้างความสนใจของนักเรียน และกระตุ้นให้เกิดคำถามซึ่งนักเรียนจะได้ดำเนินการสำรวจและหาคำตอบ มีการกำหนดสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ ทั้งนี้ ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมในแต่ละขั้นให้มีความเหมาะสมกับเวลาและกำหนดสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดความท้าทายในการทำกิจกรรม

คำหลัก: การคิดเชิงวิพากษ์, อัตราการเกิดปฏิกิริยา, กระบวนสืบเสาะหาความรู้

 

Abstract

This study was aimed to enhance students' critical thinking skills as well as learningachievement of chemical reaction rate using 15 - hour science inquiry learning activities. Thirty - fourGrade - 11 students in academic semester 1 - 2010 at Umphang Wittayakom School werepurposively selected as the target group. The Dependent-sample t-test analysis indicated that thestudents obtained the post-achievement score (mean = 28.62, SD = 3.73) statistically significanthigher than the pre-achievement score (mean = 21.18, SD = 3.40) at p<0.05 as the percentage ofprogression was 18.60. In the same fashion, The Dependent-sample t-test analysis indicated that thestudents obtained the post-critical thinking score (mean = 28.68, SD = 4.18) statistically significant higher than the pre-critical thinking score (mean = 23.56, SD = 3.06) at p<0.05 as the percentage ofprogression was 12.79. The instructor observation revealed that POE activities effectively engagedstudents in the science inquiry process. The critical thinking situations proposed during the classalso promoted their critical thinking skills. It is advisable that variety of situations should be proposedto make it more challenging for students.

Key Words: critical thinking, chemical reaction rate, science inquiry

Article Details

How to Cite
ยะสุคำ ธ., & สุภาษร ศ. (2013). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี. Journal of Education and Innovation, 14(2), 23–34. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9366
Section
Research Articles