การพัฒนารูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

พรรณี ไพศาลทักษิน
สมคิด พรมจุ้ย
สมถวิล วิจิตรวรรณา
กรกนก ลัธธนันท์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และ 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ (1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อพัฒนารูปแบบประเมิน (2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (3) กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้และประเมินคุณภาพของรูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายใน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์การประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมินได้แก่ระบบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยในแต่ละระบบประเมินทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลการดำเนินงาน 3) ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน ตัวบ่งชี้มีทั้งหมด 39 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) ระบบควบคุมคุณภาพ 26 ตัวบ่งชี้ (2) ระบบตรวจสอบคุณภาพ 6 ตัวบ่งชี้ และ (3) ระบบประเมินคุณภาพ 7 ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การตัดสินผลการประเมิน มี 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุงและควรปรับปรุงเร่งด่วน 4) ผู้ทำการประเมิน 5) วิธีการที่ใช้ประเมิน 6) ระยะเวลาที่ใช้ประเมิน และ 7) การรายงานผลการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับ

2. ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในภายหลังการทดลองใช้ พบว่า รูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายใน มีความตรงเชิงจำแนก สามารถจำแนกกลุ่มได้อย่างถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบประเมินฯ ที่พัฒนาขึ้นว่า มีอรรถประโยชน์และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประเมินอยู่ในระดับมาก มีความเหมาะสมและความถูกต้องในการนำไปใช้ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: รูปแบบประเมิน ระบบการประกันคุณภาพภายใน วิทยาลัยพยาบาล

 

Abstract

The purposes of this research were to develop an evaluation model for internal qualityassurance (IQA) for the Nursing Colleges under the Praboromarajchanok Institute and to evaluatethe quality performance of the IQA evaluation model. Three sampling groups in the research;(1)sampling group for evaluation model development, (2) sampling group for testing the IQA evaluationmodel for nursing colleges, and (3) sampling group for evaluating the effectiveness of the IQAevaluation model. Data were collected using method document review, questionnaires andinterviews. The analysis techniques were content analysis, descriptive statistic; average, andstandard deviation.

Research findings include the following,

1. The evaluation model for internal quality assurance system of nursing colleges under thePraboromarajchanok Institute consisted of 7 components namely; 1) assessment objectives, 2)assessment of the IQA indicators in 3 parallel systems; Quality Control, Quality Auditing, and QualityAssessment, beginning from inputs, through to processes, and outputs/outcomes. 3) indicators andassessment criteria: there were 39 indicators: (1) Quality Control 26 indicators (2) Quality Auditing 6indicators and (3) Quality Assessment 7 indicators. The assessment criteria were devided into 5levels; very good, good, fair, certain improvements and urgent improvement. 4) assessors, 5)assessment duration, 6) assessment methodology and 7) assessment reporting and results feedbackfor system improvement.

2. The testing of the effectiveness of the IQA evaluation model demonstrated discriminantvalidty. The evaluation model was found to have utility and feasibility standards at the high level, andhave propriety and accuracy standards at the highest level.

Keywords: Evaluation Model Internal Quality Assurance System Nursing Colleges

Article Details

How to Cite
ไพศาลทักษิน พ., พรมจุ้ย ส., วิจิตรวรรณา ส., & ลัธธนันท์ ก. (2013). การพัฒนารูปแบบประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. Journal of Education and Innovation, 14(2), 47–58. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9380
Section
Research Articles