การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผล คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย
สมบัติ นพรัก
สำราญ มีแจ้ง
วิทยา จันทร์ศิลา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษากรอบความคิดในการวิจัยครั้งนี้ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ/ในกำกับกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 350 คน โมเดลการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายใน 7 ตัว และตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าความสอดคล้องระหว่างความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิระหว่าง 0.80-1.00และมีค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) มีค่าตั้งแต่ 0.79-0.87 และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมีความตรงเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ของประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาโดยใช้โปรแกรมLISREL

ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(ค่าไคสแควร์ =76.74, df=76, p=.454, GFI=.976, AGFI=.946) โมเดลการวัดประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ประกอบด้วย ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ผลลัพธ์การมุ่งเน้นผู้เรียน ผลลัพธ์ด้านงบประมาณการเงิน การตลาด ผลลัพธ์การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลกระบวนการ และผลลัพธ์ด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์คือการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน การจัดกระบวนการ การมุ่งเน้นผู้เรียน การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การนำองค์กรและการจัดการความรู้ โดยตัวแปรอิสระในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของคณะวิชาได้ร้อยละ 90.70

 

Abstract

The objectives of this research were to develop and validate the causal model ofeducational faculty effectiveness in higher education institutions. This model, consisted of 7 latentvariables and 18 observed variables. The sample consisted of 350 staff from Governmentuniversities and Autonomous universities, Rajabhat universities, derived by stratified randomsampling technique. The research instruments were questionnaire for faculties developed by theresearcher. The validity of the instrument was verified by experts, having IOC value ranging from0.80-1.00, and reliability of Cronbach’s Alpha coefficient ranging from 0.79-0.87. Basis statistics wereperform to analyze the sample’s background with mean, standard deviation. LISERL program wasemployed to validate the model.

The research results indicated that the model was valid and well to the empirical data.(x2 = 76.74, df= 76,p=.454,GFI=.976,AGFI=.946) The model of faculty effectiveness consisted of 6indicated dimensions; student learning outcome, customer-focused outcomes, budgetary, financial,and market outcomes, workforce-focused outcomes, process effectiveness outcomes and leadershipoutcomes. The factors influencing effectiveness were workforce focus, process managementstrategic planning leadership measurement, analysis, and knowledge management. The predictorsaccounted for 91 of the variance in the effectiveness.

Article Details

How to Cite
พานิชย์ผลินไชย เ., นพรัก ส., มีแจ้ง ส., & จันทร์ศิลา ว. (2013). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผล คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 14(2), 59–72. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9382
Section
Research Articles