แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สุกัญญา แช่มช้อย

Abstract

บทคัดย่อ

โลกในยุคปัจจุบันได้หมุนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based-Economy) ที่ปัจจัยในการผลิตและแข่งขันกำลังเปลี่ยนไปเป็นปัจจัยที่ไม่อาจจับต้องได้มากขึ้น ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกองค์การสร้างจุดยืนที่เข้มแข็ง เป็นองค์การแห่งนวัตกรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อความอยู่รอด การเจริญเติบโต และการสร้างสมรรถนะในการแข่งขันอย่างยั่งยืน กระแสการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเข้าสู่ยุคนวัตกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 หมวด 9 เทคโนโลยีทางการศึกษา กำหนดว่ารัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และผู้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต่าง ๆ จะต้องพัฒนานวัตกรรม หรือนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในบทความนี้จะมุ่งเน้นนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการให้เกิดนวัตกรรมขององค์การหรือสถานศึกษา ผู้นำหรือผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องอาศัยทักษะการคิดที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่าทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking Skills) ซึ่งเป็นทักษะความคิดพื้นฐานในการทำให้เกิดนวัตกรรมในองค์การ รวมทั้งการที่ผู้บริหารใช้นวัตกรรมในการนำองค์การอย่างมีสร้างสรรค์ (InnovativeLeader) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ คือ คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ แนวคิด วิธีการ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ (Innovative Product) อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้สถานศึกษาเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization)

คำสำคัญ: นวัตกรรม, ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, ผู้นำเชิงนวัตกรรม, องค์การแห่งนวัตกรรม, การบริหารสถานศึกษา

 

Abstract

In the 21st century, it is time for Knowledge-based-Economy where factors of productionand competitive factors are changing and become intangible. Thus, development of innovation is oneway to help every organization to create a stronger standpoint and turn into innovative organization.Their goals are to survive, grow and build sustainable competitive performance. Turning intoinnovative era is consistent with the Royal Act of Education B.E. 2542 as revised (No. 2) B.E. 2544Section 9 of educational technologies. It has been stated that State shall promote and encourage the production and development of academic books, textbooks, media, materials, and othereducational technologies by accelerate development of production capacity, provide funding andprovide incentives to producers and educational technologists. Therefore, it is necessary that schoolsmust develop their innovations or use innovations to improve quality of education. In order to build,develop or use innovation in education, leader or educational administrator must rely on innovativethinking which basic skills to generate innovation in organization are. Their Innovative leadershipmust be implemented with cooperation from teachers and staffs to improve student’s quality byinnovative product. The continuation of this whole process will lead the schools stepping towardsinnovative organization.

Keywords: Innovation, Innovative Thinking Skills, Innovative Leader, Innovative Organization,School Management

Article Details

How to Cite
แช่มช้อย ส. (2013). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Education and Innovation, 14(2), 117–128. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9391
Section
Academic Articles