ผลการเรียนรู้ของการจัดการเรียนรู้บนฐานการวิจัยในหัวข้อการจัดการความรู้ในองค์กร LEARNING OUTCOMES OF RESEARCH-BASED LEARNING ON CONTENT OF KNOWLEDGE MANAGEMENT IN ORGANIZATION

Main Article Content

น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้บนฐานการวิจัยทั้งแบบใช้กระบวนการวิจัย และแบบการศึกษางานวิจัย โดยศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของแต่ละรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนทั้งสองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ลงทะเบียนทั้งวิชาการจัดการความรู้ และวิชาการจัดการสารสนเทศในองค์กร จำนวนทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา 308-374 การจัดการความรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา 308-412 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย RBL แต่ละรูปแบบ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าสถิติ t-test แบบ t-test Independent และ t-test Dependent ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ RBL ในรูปแบบการใช้กระบวนการวิจัยทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เช่นเดียวกับการจัดการเรียนรู้ RBL ในรูปแบบการศึกษางานวิจัยที่นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ RBL แบบกระบวนการวิจัยสูงกว่าแบบศึกษางานวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Areekul, C. (2017). Research for learning development in the social studies, religion, and culture. Journal of Education Naresuan University, 19(4), 331-342. [in Thai]

Chumsukon, M., & Maneepitak, N. (2016). Learning process arrangement based on research-based learning for the education for environmental development subject. Journal of Education Khon Kaen University, 39(4), 41-52. [in Thai]

Dongpakdee, K., & Panjan, C. (2016). Developing a learning activity combined between research-based learning with cooperative learning approach, for history content strand, to promote self-directed learning and critical thinking of Matthayomsuksa 3 students. Buabandit Journal of Educational Administration, 16(1), 57-65. [in Thai]

Ketchatturat, J. (2017). The results of research-based teaching and learning for developing the research ability of graduate student. KKU International Journal of Humanities and Social Sciences, 7(2), 100-119.

Nilson, L. B. (2010). Teaching at its best: A research-based resource for college instructors. USA: Jossey-Bass.

Petcharat, S. (2016). The undergraduate students’ development by research-based real experience course LG2209202 Economy of Local Community. Rajapark Journal, 10(19), 25-34. [in Thai]

Pithiyanuwat, S., & Bunterm, T. (1997). Research design and research tools. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 483-505. [in Thai]

Prajankett, O., Indhraratana, A., Prasittivejchakul, A., & Julawong, O. (2017). The effect of research-based learning management in health system and health promotion subject on learning outcome and innovative work behavior of nursing students. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18(2), 55-63. [in Thai]

Saiduang, P. (2016). The development of analytical thinking skills of UBRU students from reading English academic articles. Journal Ubon Ratchathani Rajabhat University, 7(2), 215-226. [in Thai]

Viphatphumiprathes, T. (2014). Effects of research-based learning on undergraduate students’ knowledge of ASEAN culture. Journal of Education Naresuan University, 16(1), 54-62. [in Thai]

Wichadee, S. (2011). Education in the new paradigm: Research-based learning. Executive Journal, 31(3), 26-30. [in Thai]