การใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง USE OF STORYTELLING TO PROMOTE COMMUNICATION SKILLS OF EARLY CHILDHOOD CHILDREN WHO USE THAI AS A SECOND LANGUAGE

Main Article Content

ประภาภรณ์ คำวงศ์
รัชชุกาญจน์ ทองถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษที่สอง และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษที่สอง ทั้งหมด 30 แผน และ 2) แบบประเมินทักษะการสื่อสารด้านการฟังและการพูด มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก โดยการใช้รูปภาพ และแบบการประเมินปฏิบัติ (Performance Assessment) ทักษะการฟังและทักษะการพูด ทักษะละ 10 ข้อ รวมเป็น 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนจากแบบประเมินทักษะการสื่อสารมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และหาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.) แล้วเทียบกับค่ายอมรับ คือ 0.50 ขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า
1. ได้แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษที่สอง จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยละ 5 แผน แต่ละแผนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมประมาณ 40 นาที ดังนี้ หน่วยที่ 1 หมู่บ้านของฉัน ใช้นิทานประกอบจำนวน 4 เรื่อง หน่วยที่ 2 ครอบครัวแสนสุข ใช้นิทานประกอบจำนวน 5 เรื่อง หน่วยที่ 3 ข้าว ใช้นิทานประกอบจำนวน 4 เรื่อง หน่วยที่ 4 ผัก ใช้นิทานประกอบจำนวน 4 เรื่อง หน่วยที่ 5 กล้วย ใช้นิทานประกอบจำนวน 4 เรื่อง หน่วยที่ 6 การคมนาคมใช้นิทานประกอบจำนวน 3 เรื่อง ซึ่งเป็นแผนที่มีคุณภาพสามารถส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองได้ตามจุดประสงค์
2. ผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง พบว่า คะแนนทักษะการสื่อสารหลังการเรียน มีค่าสูงกว่าก่อนการเรียน โดยค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ก่อนการเรียนเท่ากับ 7.38 และค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) หลังเรียนเท่ากับ 14.15 ซึ่งคำนวณค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.54 หรือคิดเป็นร้อยละ 54.00 ผ่านเกณฑ์การยอมรับที่กำหนด คือ 0.50 ขึ้นไป จึงสรุปได้ว่าเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาที่สอง มีพัฒนาการทักษะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
คำวงศ์ ป., & ทองถาวร ร. . (2018). การใช้นิทานเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง: USE OF STORYTELLING TO PROMOTE COMMUNICATION SKILLS OF EARLY CHILDHOOD CHILDREN WHO USE THAI AS A SECOND LANGUAGE. Journal of Education and Innovation, 23(1), 214–222. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/117088
บท
บทความวิจัย

References

Chansema, W. (2011). Verbal communication ability of young children through psycho-intellectual learning activity (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Chewaphun, A. (2015). Develop language skills, develop ideas with playing activities teaching Thai language (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Jirakobsakoon, S., Chotpradit, S., & Srisanyung, S. (2018). Young children’s reading and writing skill after receiving shared reading stories activities. Journal of Education Naresuan University, 20(1), 184-195. [in Thai]

Jaitiang, A. (2010). Teaching principles (revised edition) (5th ed.). Bangkok: Odeon Store. [in Thai]

Krirkgaran, R. (2004). Activity complemented story telling for promoting language ability of preschool children (Independent study). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Khowtrakul, S. (2013). Educational psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Masjaras, V. (2002). Storytelling technique for children. Bangkok: Thanakson. [in Thai]

Office of the Education Council. (2009). Learning activities for kids early childhood development in early childhood development. Bangkok: Prikwarn Graphic. [in Thai]

Panich, V. (2012). Learning to disciples in the 21st century. Bangkok: Foundation Sodsri - Saritwong. [in Thai]

Pankhuenkhat, R. (2011). Thai Linguistics. Bangkok: Faculty of Humanities, Chulalongkorn University. [in Thai]

Pinyoanantapong, S. (2007). Early childhood education. Bangkok: Suan Dusit University. [in Thai]

Thanaseelunggul, T. (2011). Use of the TPR approach on the Thai communication skills of Hmong Students (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Thartinchan, P. (2008). Using the picture books to develop listening and speaking skills of early childhood children (Independent study). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Tuntipalachiwa, K. (1998). “Storytelling” journal of early childhood education. Bangkok: Edison Product Prescriptions. [in Thai]

Wannakit, N. (2016). Literature for children. Nonthaburi: Inthanil. [in Thai]