การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการนวดสำหรับนักศึกษาแพทย์แผนไทย AN INSTRUCTIONAL MODEL DEVELOPMENT TO INCREASE THAI MASSAGE SKILL FOR TRADITIONAL MEDICINE STUDENT
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการนวดไทยสำหรับนักศึกษาแพทย์แผนไทย 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการนวดไทยสำหรับนักศึกษาแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาแพทย์แผนไทยชั้นปีที่ 4 จำนวน 8 คน นักศึกษาแพทย์แผนไทยชั้นปีที่ 3 จำนวน 36 คน และกลุ่มผู้รับบริการจำนวน 235 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม รูปแบบการเรียนการสอน แบบประเมินคุณภาพ แบบประเมินทักษะการนวดไทย แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้ 4) ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการนวดไทย มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การซักประวัติและตรวจร่างกาย การวางแผนการรักษา การรักษา การประเมินผลการรักษา และการสรุปผลการรักษา 2) หลังการใช้รูปแบบการสอน นักศึกษามีทักษะการนวดไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = 0.11) และผู้รับบริการ มีความพึงพอใจต่อการนวด อยู่ในระดับมาก (
= 4.40, S.D. =0.39)
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Aonchomjan, D. (2005). Promotion of traditional massage in health care and income generation, the Thai traditional medicine group. Bangkok: Ministry of Public Health. [in Thai]
Bunpean, A., Arunotayanun, W., Phungphol, J., & Monpolsri, E. (2017). Evaluation of The Traditional Medicine (Revised, B.E. 2553), Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology. Nonthaburi: Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology. [in Thai]
Cumjina, C. (2016). Vocational training in beautician assistant for a person with intellectual disabilities through real life situation (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]
Dachakupt, P., & Yindeesuk, P. (2017). Teacher Skills 7c 4.0. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Department of Thai Traditional Medicine. (2016). Reported on the results of Thai traditional medicine department year 2015. Nonthaburi: Kanchanabhisek Institute of Medical and Public Health Technology. [in Thai]
Duongtain, J. (2015). The development of teaching techniques by integrating simpson’s instruction model and cooperative learning (STAD) model for the invention of dance consisting of twelve values Announced song for mathayomsuksa 3 students (Master thesis). Bangkok: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]
Harnyoot, O. (2014). Nursing process and implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 137-143. [in Thai]
Phothidara, Y. (2011). Nursing education management: For student generation Y. Journal of Nursing Science & Health, 34(2). 61-69. [in Thai]
Plianbumroong, D., Musigawan, A., & Kajornkittiya, K. (2009). The perception of patients rights and the actually received on patient rights while bedside teaching. Yala: Boromarajonani College of Nursing Yala. [in Thai]
Rajamangala University of Technology Isan Sakonnakhon Campus. (2012). Thai traditional medicine curriculum Thai traditional medicine revised 2012. Nakhon Ratchasima: Rajamangala University of Technology Isan Sakonnakhon Campus. [in Thai]
Sayorwan, W., Phaekhunthot, S., Chumworathayee, S., & Udompittayason, J. (2017). Development of a 3D Para Rubber Model for practicing massage skill of TTM students of Kanchanabhisek Institute of Medical and Public Health Technology. Journal of Nursing and Education, 10(3), 71-82. [in Thai]
Tanathampitak, C. (2012). Satisfaction in medical care alternative plan Buddhist way (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]