ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ THE EFFECTS OF PEER TUTORING ON DATA STRUCTURE AND ALGORITHM LEARNING ACHIEVEMENT AND TEAM LEARNING BEHAVIORS OF SOFTWARE ENGINEERING AND INFORMATION SYSTEM STUDENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียนในขณะเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันขณะเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ในระดับมาก
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผู้เรียนจำนวนร้อยละ 88.89 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Laoboonma, A., Yamsang, N., & Yamsang, W. (2017). The results of mathematics learning activities on time using the team assisted individualization (TAI) method for Prathom Suksa three students. Journal of Social Academic, 10(2), 234 – 248. [in Thai]
Office of the Education Council. (2018). National Education Act. Retrieved November 13, 2018, from http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT00 00011 [in Thai]
Panich, V. (2015). Way of learning for students in the 21st century. Journal of Learning Innovations, 1(2), 3 – 14. [in Thai]
Phumpuang, K., & Sittiwong, T. (2018). The development of flipped classroom learning activities with collaborative learning approach for undergraduate students. Journal of Education Naresuan University, 20(2), 1 – 11. [in Thai]
Srisa-ard, B. (1996). An instrument used to collect data of rating scale. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 2(1), 64 – 70. [in Thai]
Tantitheerasak, S., & Autthawuttikul, S. (2017). The practice of peer assisted learning with social network to promote programming skills for Mathayomsuksa 5 students. Veridian E-Journal, 9(3), 1081 – 1093. [in Thai]
Wongsinudom, P., & Autthawuttikul, S. (2016). The development of tutorial application on tablet with peer to peer learning affecting learning together of the third grade students in Petchaburi. Veridian E-Journal, 9(3), 588 – 601. [in Thai]