ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 THE LEARNING OUTCOME USING BRAIN-BASED LEARNING AND SCAFFOLDING STRATEGY FOR DEVELOPING ENGLISH READING COMPREHENSION SKILLS OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS

Main Article Content

หนึ่งฤทัย เขียวสวัสดิ์
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
ปริญญา ทองสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ กับนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลวัดกลางดอนเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้, แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบปกติ, แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ มีทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ มีทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เขียวสวัสดิ์ ห. ., สุรัตน์เรืองชัย ว. ., & ทองสอน ป. . (2019). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : THE LEARNING OUTCOME USING BRAIN-BASED LEARNING AND SCAFFOLDING STRATEGY FOR DEVELOPING ENGLISH READING COMPREHENSION SKILLS OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS. Journal of Education and Innovation, 23(3), 371–381. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/165688
บท
บทความวิจัย

References

Aneksuk, S. (2016). Educational research. Chonburi: The Faculty of Education, Burapha University. [in Thai]

Applebee, A. N., & Langer, J. A. (1983). Instructional Scaffolding: Reading and Writing as Natural Language Activities. Language arts, 60(2), 168-75.

Beed, P., Hawkins, M., & Roller, C. (1991) Moving learners towards independence: The power of scaffolded instruction. The Reading Teacher, 44(9), 648–655.

Boonsompan, O. (2008). The learning activity using brain-based learning for stimulating the knowledge in vocabulary and the ability of english reading for prathomsuksa 3 students (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2011). The development approach and assessment of read, think, analyze, write through basic education curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]

Caine, R. N., & Caine. G. (1990). Understanding a brain based approach to learning and teaching. Educational Leadership, 48, 66-70.

Caine, R. N., & Caine. G. (1994). Making connections: Teaching and the Human Brain. Menlo Park, Calif.: Addison-Wesley.

Chomrung, N. (2009). The outcome of reading comprehension for mattayomsuksa 2 students among brain-based learning with conventional activity (Independent study). Maha Sarakham: Mahasarakham University. [in Thai]

Dailynews. (2017.) More than half of the result of the o-net in the only Thai language. Retrieved October 15, 2017, from https://www.dailynews.co.th/education/563023 [in Thai]

Graves, M, Graves, R., & Braaten. S, (1996). Scaffolding reading experience for Inclusive classes. Educational Leadership, 53(5), 14-16.

Hoge, P. (2003). The integration of brain-based learning and literacy acquisition. New York: W.H. Freeman and Company.

Khanthap, C., & Bhiasiri, S. (2012). The development of English reading skill by using brain-based learning of grade 4 Students. Journal of Education Khon Kaen University, 35(3), 9-14. [in Thai]

Lerdwicha, P. (2009). Teaching Thai though brain – based learning approach (2nd ed.). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]

Lerdwicha, P. (2010). Manuel of school quality assurance through BBL school model. Chiang Mai: Tarnpanya. [in Thai]

Lerdwicha, P. (2012). Thai teaching lessons plan of early elementary school according child brain development. Chiang Mai: Tarnpanya. [in Thai]

Lipscomb, L., Swanson, J., & West, A. (2004). Scaffolding. Emerging perspectives on learning, teaching, and technology. Retrieved October 15, 2017, from http://www.coe.uga.edu/epltt/scaffolding.htm

Ministry of Education. (2015). Basic Education Curriculum 2008. Retrieved October 10, 2016, from http://math.ipst.ac.th/wpcontent/uploads/2015/PDF/Course%202551.pdf [in Thai]

Mongkonchu, W. (2007). The learning outcome of Thai reading comprehension using student – centered learning activity through brain-based learning in mattayomsuksa 3 (Independent study). Maha Sarakham: Mahasarakham University. [in Thai]

Pansue, S. (2008). Use of scaffolding strategies to promote writing ability and decrease writing anxiety of expanding level students (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Sanhachawee, A. (2011). Learning theory for parents, teachers and administrator. Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2010). Basic of research (8th ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Tachang, M. (2011). Teaching reading comprehension through brain-based learning approach effect on the ability of the writing summary for prathomsuksa 3 students (Master thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Unokphan, J., Suksai, P., & Onthanee, A. (2018). A development of brain-based learning activities to enhance English communication ability and happiness in learning for grade 6 students. Journal of Education Naresuan University, 20(3), 35-48. [in Thai]

Vygoysky, L. S. (1978). Mind in society. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Wongwikan, P. (2017). Effect of teaching according to the brain - based learning approach on reading comprehension ability and satisfaction on Thai subject of prathomsuksa 2 students (Master thesis). Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University. [in Thai]