การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism THE DEVELOPING OF ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL THINKING ON CELLULAR RESPIRATION OF GRADE 10th STUDENTS BY CONSTRUCTIVISM TEACHING APPROACH

Main Article Content

อารีรัตน์ ปั้นปล้อง
ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์วิชาชีววิทยา สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent Sample และแบบ One – Sample ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
3. การคิดวิเคราะห์เรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การคิดวิเคราะห์เรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

Article Details

How to Cite
ปั้นปล้อง อ. ., ตันติวรานุรักษ์ ช., & ศิริสวัสดิ์ เ. . (2019). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Constructivism: THE DEVELOPING OF ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL THINKING ON CELLULAR RESPIRATION OF GRADE 10th STUDENTS BY CONSTRUCTIVISM TEACHING APPROACH. Journal of Education and Innovation, 24(1), 317–325. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/179785
บท
บทความวิจัย

References

Banhanjamsaivittaya 3 School. (2015). Academic year 2015 Report Suphanburi: Banhanjamsaivittaya 3 School. [in Thai]

Banhanjamsaivittaya 3 School. (2009). Banhanjamsaivittaya 3 School course 2009 according to basic education core curriculum 2008. Suphanburi: Banhanjamsaivittaya 3 School. [in Thai]

Ditsopha, Y. (2015). Development of the constructivist-based learning management model for learning achievement and analytical thinking capability of first year certificate of vocational educations students Tinsulanonda Fisheries College (Master thesis). Songkhla: Thaksin University. [in Thai]

Driver, R., & Bell, B. (1986). Students thinking and the learning of science: A constructivist view. School Science Review, 67(240), 443 – 456.

Laowreandee, W. (2012). Thinking skills instructional models and strategies. Nakhon Pathom: Silpakorn University Printing Factory. [in Thai]

National Institute of Educational Testing Service. (2015). Assessment of student achievement in basic education, quality education since 2015. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2002). Basic Education Core Curriculum 1999. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]

Payuckruang, K. (2011). The effect r of the teaching science based on constructivist approach to prathomsuksa VI student (Master thesis). Chonburi: Burapha University. [in Thai]

Silarang, P. (2006). Creating a learning package for science learning strand the unit ecosystem by using teaching and learning styles according to constructivists for students mattayom 3 (Master thesis). Chonburi: Burapha University. [in Thai]

Susaorat, P. (2008). Development of thinking. Bangkok: 9119 Techniques Printing. [in Thai]

Suwan, S. (2012). The learning outcome of driver and bell’s constructivist supplemented with concept mapping learning management on scientific achievements and analytical thinking abilities of prathomsuksa 5 students (Master thesis). Udon Thani: Udon Thani Rajabhat University. [in Thai]

Sutjanan, J. (2011). Lifelong education and community development. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]

Sutthirat, C. (2009). 80 Innovative learning management that focuses on learners. Bangkok: Danex Inter Corporation. [in Thai]

Tejagupta, P. (2001). Student-centered learning: Concepts of teaching techniques 1. Bangkok: The Master Group Management. [in Thai]