การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เน้นวิทยาศาสตร์ A DEVELOPMENT OF SCIENCE ACTIVITY BASED ON INQUIRY METHOD FOCUSES ON INDIVIDUAL DIFFERENCES TO ENHANCE ANALYTICAL THINKING ABILITIES ON STOICHIOMETRY FOR GRADE 10 STUDENTS FOCUSES ON SCIENCE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เน้นวิทยาศาสตร์ ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการใช้กิจกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลและแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test (แบบ dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมประกอบด้วย 7 ขั้น ได้แก่ 1.1) ทบทวนความรู้เดิม (เตรียมความพร้อม) 1.2) สร้างเสริมความสนใจ (เลือกความสนใจของตนเอง) 1.3) สำรวจ/ค้นหาคำตอบ (ตามวิธีการเรียนรู้ของตนเอง) 1.4) อธิบายความรู้ 1.5) ขยายความรู้ 1.6) ประเมินความรู้ 1.7) การนำไปใช้ โดยความเหมาะสมของกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.54) และมีประสิทธิภาพของกิจกรรมเท่ากับ 76.39/75.21 ตามเกณฑ์ 75/75 2. พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับดี (
= 15.24, S.D. = 0.86) และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Buosonte, R. (2009). Research and development of educational innovation. Bangkok: Kamsamai Printing House. [in Thai]
Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model. The Science Teacher, 70(6), 56–59.
Intamong, K. (2016). The study of biology achievement and scientific analytical thinking by using 7E learning cycle with concept mapping technique on photosynthesis of 11th grade students. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 8(22), 173-185. [in Thai]
Khammani, T. (2012). Science of Teaching: Knowledge for effective learning management (15th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Kawtrakul, S. (2013). Educational psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Marzano, R. J. (2001). Designing a new taxonomy of educational objectives. California: Corwin Press.
Ministry of Education. (2008). basic educational Core curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Co-Operative Federation of Thailand. [in Thai]
Muakthong, S. (2013). Result of learning activities with inquiry approach on analytical thinking abilities of grade 11 students of secondary area office 5. In Proceedings of 51st Kasetsart University Annual Conference: Education, Economics and Business Administration, Humanities and Social Sciences (pp.79-87). Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
Nuangchalerm, P. (2007). Inquiry Cycle 7 step. Journal Academic, 10(4), 25-30. [in Thai]
Prachanban, P. (2009). Research Methodology in social science. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing House. [in Thai]
Rahsanmoung, R. (2010). The effect of science activity bases on Inquiry Cycle (7E) on reaction rate for grade 11 students (Independent Study). Maha Sarakham: Mahasarakham University. [in Thai]
Rodwirat, H., Panprueksa, K., & Chaiprasert, P. (2018). The effect of 7E learning cycle with STAD technique on learning achievement, analytical thinking, and attitude towards chemistry of grade 10 students. Journal of education Naresuan University, 20(3), 238-250. [in Thai]
Sankaburanurak, A., & Sankaburanurak, S. (2014). Differentiated Instruction. Journal of Education Silpakorn University, 12(1,2), 39-48.
Tomlinson, C. A. (2001). How to differentiate instruction in mixed-ability classroom (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Tomlinson, C. A. (2010). Differentiated and brain: How neuroscience supports the learner-friendly classroom. Bloomington, IN: Solution Tree Press.
Wongket, J. (2017). The development of learning activities using inquiry approach together with mind mapping techniques to promote analytical thinking abilities on one-variable linear equation for mathayomsuksa 1 students (Master thesis). Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]