การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ P-PIADA เรื่อง การวิเคราะห์โครงข่ายสื่อสาร สำหรับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า DEVELOPMENT OF P-PIADA BASED DISCIPLINARY INTEGRATED TEACHING MODEL ON COMMUNICATION NETWORK ANALYSIS FOR ELECTRICAL ENGINEERING EDUCATION

Main Article Content

กนกวรรณ เรืองศิริ
สมศักดิ์ อรรคทิมากูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ P-PIADA เรื่อง การวิเคราะห์โครงข่ายสื่อสารสำหรับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการวิจัยเริ่มดำเนินการจากการพัฒนารูปแบบการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ P-PIADA ตามกระบวนการสตีมศึกษา ที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมความพร้อม (Preparation) ขั้นการทบทวน (Pre-Learning) ขั้นการให้เนื้อหา (Information) ขั้นกิจกรรม (Activity) และขั้นการประเมินผล (Assessment) จากนั้นพัฒนาชุดการสอนที่ประกอบด้วย แผนการสอน ใบเนื้อหา ใบงาน แบบทดสอบ โปรแกรมจำลอง สื่อเพาเวอร์พอยต์ และชุดเครื่องมือวัดเสมือนจริง ชุดการสอนจะนำไปใช้ในการสอนเรื่องการวิเคราะห์โครงข่ายสื่อสารที่ประกอบด้วย 3 หน่วยเรียน ได้แก่ เรโซแนนซ์ ข่ายงานสองขั้ว และวงจรกรองความถี่ สุดท้ายรูปแบบการเรียนการสอนได้ถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เรียนปริญญาตรี จำนวน 46 คน โดยเลือกแบบเจาะจงตามสภาพห้องเรียนจริง ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาข่ายการสื่อสารและสายส่ง หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ คู่มือครู แผนการสอนและการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการศาสตร์ P-PIADA สื่อการสอน และแบบทดสอบ สำหรับสถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.49/77.36 ที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 75/75 2) ผลการเปรียบเทียบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) ผลของความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ P-PIADA Model มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{} = 4.32, S.D. = 0.51)

Article Details

How to Cite
เรืองศิริ ก. ., & อรรคทิมากูล ส. . (2020). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ P-PIADA เรื่อง การวิเคราะห์โครงข่ายสื่อสาร สำหรับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า: DEVELOPMENT OF P-PIADA BASED DISCIPLINARY INTEGRATED TEACHING MODEL ON COMMUNICATION NETWORK ANALYSIS FOR ELECTRICAL ENGINEERING EDUCATION. Journal of Education and Innovation, 24(3), 97–102. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/241177
บท
บทความวิจัย

References

Alongorn, P., & Somsak, A. (2015). Development instructional model in Maxwell Equation, Plan Wave and Power of Wave using SATADE Learning Model. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 6(1), 177–186. [in Thai]

Anuchart, S. (2014). A development of a learning activity package for industrial electrical vocational teacher focused on students’ working skills under inquiry–based learning (5e) (Doctoral dissertation). Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. [in Thai]

Anurak, M. (2014). Development of P-CSDE Instructional model for telecommunication engineering study, bachelor education (Doctoral dissertation). Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. [in Thai]

Ekkaphan, P., & Somsak, A., (2019). Instructional management using simulation based RISDA learning model for teaching of industrial electronics. The 11th National Conference on Technical Education

and the 6th International Conference on Technical Education (pp. 44-48). Thailand: KMUTNB Bangkok.

Hyunju, P., Soo-yong, B., Jaeho, S., Hyesook, H., & Yoon Su, B. (2016). Teachers’ perceptions and practices of STEAM education in South Korea. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 12(7), 1739-1753.

Kumpirarusk, P., & Rohitratana, K. (2018). Industry 4.0: Future industries of Thailand. WMS Journal of Management, 7(3), 52-64. [in Thai]

Pinit, N., Surapan, T., & Somsak, A. (2013). Development of SMISEA learning model for high frequency transmission line, The 6th National Conference on Technical Education (pp.117-122). Thailand: KMUTNB Bangkok. [in Thai].

Pinyo, W. (2019). Effect of integrated learning activities based on STEAM education on science learning achievement, critical thinking skills and students’ satisfaction of grade 4 students. Journal of Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 7(3), 52–64. [in Thai]

Sirawan, J. (2017). Integrated learning management in Thailand 4.0 era, based on STEM, STEAM, and STERAM. Journal of Education and Social Development, 13(1), 19–30. [in Thai]

Tomas, U. (2012). Student competencies in structural engineering: Modelling cultural environment in Qassim University, SEFI 40th annual conference (pp.1-8). Greece: Thessaloniki.

Veronica, A. S., Barbara, N., Cibele V, Falkenberg., Stephanie, P., & Raquel,l M. H., (2018). STEAM: Using the arts to train well-rounded and creative scientists. Journal of Microbiology & Biology Education, 19(1), 1-7.