การประเมินกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของครูในโครงการ ครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง ASSESSMENT FOR TRANSFORMATIVE LEARNING PROCESS OF TEACHERS IN TEACHERS FOR LOCAL DEVELOPMENT PROJECT: AN APPLICATION OF USING LATENT CLASS ANALYSIS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับและกลุ่มแฝงของกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของครูที่เข้าร่วมโครงการครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตัวอย่างวิจัย คือ ครูในโครงการครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 691 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบวัดผ่านตรวจคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง อำนาจจำแนก และความเที่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ครูมีระดับของกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการประเมินกรอบความคิดที่แตกต่างภายในจิตใจ (M = 4.255, SD = 0.476) 2) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างทางเลือกหรือแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ (M = 4.203, SD = 0.485) 3) ด้านการวางแผนในการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างบทบาทใหม่ (M = 4.087, SD = 0.522) และ 4) ด้านการสร้างและบูรณาการสมรรถนะเข้ากับความรู้และประสบการณ์ภายใต้มุมมองใหม่ (M = 3.847, SD = 0.439) ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (CV) มีค่าอยู่ระหว่าง 11.192 ถึง 12.782
2. การวิเคราะห์กลุ่มแฝงกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของครู สามารถจำแนกกลุ่มแฝงได้ทั้งหมด 4 กลุ่มแฝง ประกอบไปด้วย กลุ่มแฝงที่ 1 กลุ่มกำลังตระหนักคิดต่อการเปลี่ยนแปลง (M = 3.089-3.346, SD = 0.044-0.057) กลุ่มแฝงที่ 2 กลุ่มกำลังตัดสินใจเพื่อการเปลี่ยนแปลง (M = 3.659-3.922, SD = 0.026-0.069) กลุ่มแฝงที่ 3 กลุ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลง (M = 3.842-4.339, SD = 0.042-0.075) และกลุ่มแฝงที่ 4 กลุ่มแสดงพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง (M = 4.254-4.739, SD = 0.023-0.040)
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Anussornrajakit, H. (2013). Transformative learning process for improvement of early childhood teachers. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University. [in Thai]
Mezirow, J. (2000). Learning to think like an adult: Core concepts of transformational theory. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Mezirow, J. (2003). Transformative learning as discourse. Journal of transformative Education, 1(1), 58-63. DOI: 10.1177/1541344603252172
Mezirow, J. (2012). Learning to think like an adult: core concepts of Transformation Theory. In E. W. Taylor & P. Cranton (Eds.), The handbook of transformative learning: theory, research, and practice (pp. 73-95). San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Network of Teacher Production and Development Institution in Lower Northern Region. (2018). Business Plan of Network of Teacher Production and Development Institution in Lower Northern Region (2018-2025). Phitsanulok: Naresuan University.
Soper, D. S. (2020). A-priori sample size calculator for structural equation models [Software]. Available from http://www.danielsoper.com/statcalc/calculator.aspx?id=89
Taylor, E. W. (2000). Analyzing research on transformative learning theory in learning as transformative: Critical perspectives on a theory in progress. San Francisco, CA: Jossey-Bass.