ระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0 SYSTEM AND DRIVE MECHANISM FOR HIGH PERFORMANCE TEACHERS DEVELOPMENT SUPPORTING THAILAND 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) มีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของระบบและกลไกการพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0 โดยใช้แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูล คือ นักวิชาการ/นักวิจัยด้านการศึกษา ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาครู คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู จำนวน 86 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0 โดยการยกร่างระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงฯ จากข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามในขั้นตอนที่ 1 ประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของระบบและกลไกฯ โดยการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการพัฒนาครู จำนวน 22 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า ระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงประกอบด้วย เป้าหมายเชิงคุณภาพและเป้าหมายเชิงปริมาณ ผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาครู คือ สถาบันผลิตครู สถานศึกษา และตัวครูผู้พัฒนา รูปแบบการพัฒนาครู คือ การพัฒนาแบบผสมผสานกันระหว่างการพัฒนาทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงาน และการศึกษาด้วยตนเอง การบริหารระบบการพัฒนาครู โดยหน่วยงานต้นสังกัดในเขตพื้นที่การศึกษา และการจัดสรรงบประมาณ ควรเปิดโอกาสให้สถานศึกษาและครูสามารถใช้งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาครูรายบุคคล กลไกขับเคลื่อนระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0 ประกอบไปด้วย กลไกกำกับคุณภาพการพัฒนาครู และกลไกกำกับระบบการพัฒนาครู โดยองค์กรวิชาชีพ หรือคุรุสภากำหนดมาตรฐานการพัฒนาครูที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะครู (Competency Based) และความสามารถในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน (Outcome Based)
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Charoenwongsak, K. (2003). Scenario and desirable characteristic of Thais. Bangkok: Office of the National Education Commission. [in Thai]
Chongklaiklang, S., & Siribanpitak, P. (2015). Development of an administrative model for empowerment of teachers in basic education institutions. Journal of Education Graduate Study Chulalongkorn University, 7(4), 220-227. [in Thai]
Cochran-Smith, M. (2008). The new teacher education in the United States: Directions forward. Teachers and Teaching, 14(4), 271-282. https://doi.org/10.1080/13540600802037678
Dhurakijpundit University. (2013). Collection of articles of educational management in ASEAN and dialogue partners: Singapore, Brunei, Philippines, Indonesia, Vietnam, Myanmar and Laos: China, India, Japan and New Zealand. Bangkok: Dhurakijpundit University. [in Thai]
Ginsburg, M. (2011). EQUIP2 state-of-the-art knowledge in education: Teacher professional development. Retrieved February 14, 2020, from https://www.epdc.org/sites/default/files/documents/EQUIP2%20SOAK%20-%20TPD.pdf
Ministry of Foreign Affairs. (2017). Innovation in foreign country: The guidline for educational development in Singapore. Retrieved November 10, 2017, from http://www.mfa.go.th/thailand4/th/news/6909/77112-แนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาของสิงคโปร์.html [in Thai]
Narintarangkul Na Ayudhaya, S. (2018). Paradigm, model and mechanism for area-based teacher development. Educational Management and Innovation Journal, 1(3), 82-100. [in Thai]
National Education Act. (1999). Government gazette. Vol. 116 Part 74 A. [in Thai]
OECD. (2014). Competency framework. Retrieved November 10, 2017, from https://www.oecd.org/careers/competency_framework_en.pdf
Office of the Basic Education Commission. (2019). List of courses for the development of government teachers and educational personnel teaching division of the office of the basic education commission in accordance with the criteria and methods as specified by GTEPC. Bangkok: Ministry of Education. [in Thai]
Office of the National Education Commission. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Office of the National Education Commission. [in Thai]
Panthong, W., Kornpuang, A., Pakdeewong, P., & Chanbanchong, C. (2013). A model for the development of student oriented teachers in the school under jurisdiction of primary education service areas. Journal of Education Naresuan University, 15, 193-205. [in Thai]
Rabin, R. (2014). Blended learning for leadership: The CCL approach. Retrieved December 20, 2019, from http://www.ccl.org/wp-content/uploads/2015/04/BlendedLearningLeadership.pdf
Regulation of the Teachers’ Council of Thailand on Professional Ethics B.E. 2556. (2013, October 4). Government gazette. Vol. 130 Part special 130 D. [in Thai]
Sridhrungsri, P. (2014). Elevate the quality of Thai teacher in 21st century. The partnership in creating a learning society for all conference, May 6 - 8, 2014. Bangkok: Mata Karnphim Company. [in Thai]
The Partnership for 21st Century Learning (P21). (2015). Framework for 21st century learning definition, Retrieved November 10, 2017, from http://www.p21.org/storage/documents/docs/P21_Framework_Definitions_New_Logo_2020.pdf
The Secretariat of the Council of Education. (2017). System and model of teacher development suitable for Thai society and internationalization. Bangkok: Prikwarn Graphic. [in Thai]
Thongjuea, T., & Thummake, P. (2017). The guidelines for human resource development in the 21st century according to educational dimension. Journal of MCU Peace Studies, 5(3), 389-403. [in Thai]
Wangmijongmee, C., & Naiyapat, O. (2017). Teachers' competency in the 21st century: Adjusting learning, changing competencies. Journal of HR Intelligence, 12(2), 47-63. [in Thai]
Wichienpan, T., & Chansuk, P. (2013). The report of the 21st century skills development program for Thai children and youth to prepare for the ASEAN community (Research report). Bangkok: Quality Learning Foundation (QLF). [in Thai]