การพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวสำหรับโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ด้วยการจัดการความรู้ THE DEVELOPMENT OF LOCAL EARTHQUAKE DISASTER CURRICULUM FOR SCHOOLS IN THE EARTHQUAKE RISK ZONES THROUGH KNOWLEDGE MANAGEMENT
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมครูเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว สำหรับโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ด้วยการจัดการความรู้ 3) ทดลองใช้หลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว และ 4) ประเมินผลหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู และนักเรียนโรงเรียนพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย จำนวน 5 โรงเรียน ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. โรงเรียนพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวยังไม่นำประเด็นแผ่นดินไหวบูรณาการสู่การเรียนการสอน หรือพัฒนาเป็นหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรม ผู้บริหารและครูยังไม่เห็นความสำคัญ ครูต้องการทราบแนวทางการบูรณาการ และรูปแบบหลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน รวมถึงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผ่นดินไหวที่น่าสนใจ
2. หลักสูตรฝึกอบรมครูเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว สำหรับโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ภัยพิบัติศึกษา 2) การพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว 3) การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว และ 4) การนำหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวไปใช้และการประเมินผลหลักสูตร พัฒนาครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้โมเดลปลาทู 3 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครู 2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนแผ่นดินไหว ทั้งภายในและระหว่างโรงเรียน และ 3) จัดเก็บความรู้แต่ละโรงเรียนถอดบทเรียนเพื่อค้นหาผลงานการปฏิบัติที่ดีเผยแพร่ ซึ่งดำเนินการ 2 วงรอบ ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ภายหลังการพัฒนาครู พบว่า โรงเรียนได้หลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวที่เป็นหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม หลักสูตรเสริมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร 1) ผลที่เกิดขึ้นกับครู พบว่า ครูมีความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวหลังการเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทักษะในการพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว ภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความรู้ในการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหวหลังเข้าร่วมหลักสูตรสูงกว่าก่อนเข้าร่วมหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทักษะการเอาชีวิตรอดจากแผ่นดินไหว ได้แก่ หมอบ ป้อง เกาะ ปฐมพยาบาล และซ้อมอพยพแผ่นดินไหว ภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินหลักสูตร พบบทเรียนความสำเร็จของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ คือ ได้หลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวที่มีคุณภาพ เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทโรงเรียน โดยมี 2 โรงเรียนที่มีผลงานการปฏิบัติที่ดี คือ โรงเรียนแม่ลาววิทยาคม และโรงเรียนชุมชนบ้านสันจำปาที่มีชื่อเสียง สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานในระดับประเทศ โดยปัจจัยความสำเร็จเกิดจากการมีวิสัยทัศน์ การเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และทีมนำ การเห็นคุณค่า มีกรอบความคิดเติบโต การทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง การหนุนเสริมพลังกัน และการทำหน้าที่โค้ชของนักวิจัย
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Collins, A. E. (2009). Disaster and development. Padstow, Cornwall: T. J. International.
Consortium for Disaster Education Indonesia. (2011). A framework of school-based disaster preparedness. Retrieved December 10, 2014, from http://www.preventionweb.net/.../26013_26008aframeworkofschool
Chatwirot, B. (2013). The Development of a training course for teachers by knowledge management process to enhance English writing teaching skill for primary education level. The Golden Teak: Research Journal, 15(1), 33-49. [in Thai]
International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies. (2010). Children in disasters-games and guidelines to engage youth in risk reduction. Retrieved July 29, 2011, from http://www.preventionweb.net/.../16726_16726childrenindisa
Jantakoon, J. (2015). Disaster education: Learning approach to disaster preparedness activities (part 1). Journal of Education Naresuan University, 17(4), 188-201. [in Thai]
Jantakoon, J., Wattanatorn, A., Kaewurai, W., & Lincharearn, A. (2015). The development of curriculum to enhance consciousness on disaster preparedness based on contemplative education approach for lower secondary students. Journal of Education Naresuan University, 17(1), 1-13. [in Thai]
Koson, C., Wattanatorn, A., Keawurai, W., & Onthanee, A. (2013). Training curriculum development with knowledge management for teachers of English on the competence of constructing local youth-guide curriculum. Journal of Education Naresuan University, 15(4), 33-44. [in Thai]
MacDonalda, E., Johnsonb, V., Gilliesa, M., & Johnstonb, D. (2017). The impact of a museum-based hazard education program on students, teachers, and parents. International Journal of Disaster Risk Reduction, 21, 360-366.
Oreta, A., & Winston, C. (2010). Guidance notes school emergency and disaster preparedness. Retrieved October 14, 2011, from https://www.unisdr.org/.../15655_1msshguidenotesprefinal031
Panich, V. (2016). New horizon in knowledge management. Bangkok: Parbpim Printing. [in Thai]
Phasukyued, P. (2007). Knowledge management (KM): LO powered edition (2nd ed). Bangkok: Yaimai Publisher. [in Thai]
Rattanathammethee, S. (2010). The development of teacher training curriculum based on knowledge management to enhance local culture media competency. Surin: Surindra Rajabhat University. [in Thai]
Reyes, L. M., et al. (2011). Disaster resilience with the young: Mainstreaming disaster risk reduction in the school curriculum. Indonesia: ASEAN-UNISDR Technical Cooperation.
Seismological Bureau. (2014). Chiang Rai earthquake report. Retrieved July 10, 2014, from http://www.seismology.tmd.go.th/.../seismo-doc-140470345 [in Thai]
Sugeng, W., Bujan, R., & Abdurrahman, A. (2018). The exploration of history, potential and management of earthquake in the context of mapping and empowerment of learning community. Proceedings of the International Conference on Educational Sciences and Teacher Profession (ICETeP 2018).
Taba, H. (1962). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt, Brace and Word.
Thammasarot, S. (2010). Omens of earthquake. Retrieved May 5, 2010, from http://www.thaipost.net/sunday/110410/20661. [in Thai]
Wisner, B. (2006). Let our children Teach Us! a review of the role of education and knowledge in disaster risk reduction. Retrieved June 9, 2011, from http://www.unisdr.org/files/609_10030.pdf