การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู AN INSTRUCTIONAL MODEL DEVELOPMENT BASED ON SOCIAL CONSTRUCTIVISM AND AUTHENTIC LEARNING APPROACHES TO ENHANCE DIFFERENTIATED INSTRUCTION ABILITY FOR STUDENT TEACHERS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ จำนวน 27 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) แบบบันทึกภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (t-test one sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นจัดกิจกรรมตามสภาพจริงให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดระหว่างผู้เรียนที่มีความสามารถที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้ให้แก่กันและกัน ผู้สอนกระตุ้นท้าทายให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การนำรูปแบบไปใช้ และผลที่เกิดกับผู้เรียน ผู้วิจัยสังเคราะห์ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ศึกษาเพื่อเรียนรู้ตามสภาพจริง ขั้นที่ 2 การค้นคว้าความรู้สู่การแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้สู่การประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ขั้นที่ 5 ประเมินผลการเรียนรู้ โดยภาพรวมของผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, SD = 0.39) และผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 75.62/76.09 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดย (1) คะแนนการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักศึกษาครูหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 85.45 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักศึกษาครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ การใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้เกิดความผ่อนคลายในการเรียนและสามารถประเมินผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
ASCD Learn Teach Lead. (2011). What is differentiated instruction and why differentiate? Retrieved from https://pdo.ascd.org/LMSCourses/PD11OC115M/media/DI-Intro_M1_Reading_What_Is_DI.pdf
Corley, M. A. (2015). Differentiated instruction adjusting to the needs of all learners. Washington, D.C.: American institutes for research.
Joyce, B., & Weil, M. (2004). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.
Kalpana, T. (2014). A constructivist perspective on teaching and learning: A conceptual framework. International Research Journal of Social Sciences, 3, 27-29.
Khemmani, T. (2010). Science of teaching pedagogy. knowledge for effective learning management (12th ed.) Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Kulachai, K., et al. (2011). Facebook: The practice of social constructivist in blended learning. Retrieved November 30, 2019, from https://www.slideshare.net/kulachai/facebook-the-practice-of-social-constructivist-in-blended-learning [in Thai]
Lisa, M. S., & Valle, B. E. (2013). Social constructivist teaching strategies in the small group classroom. Small Group Research, 44(4), 395-411.
Lombardi, M. M. (2007). Authentic learning for the 21st century: An overview. EDUCAUSE Learning Initiative, 1, 1-12.
Meechan, S. (2004). Rater Agreement Index: RAI. Songklanalarin Journal of Social Sciences and Humanities, 10(2), 113-125. [in Thai]
Newmann, F. M., Secada, W. G., & Wehlage. G. G. (1995). A guide to authentic instruction and assessment: Vision, standards and scoring. Madison: Wisconsin Center Education Research.
Piyasri, B. (2013). The professional development model to enhance teaching competency of teachers through differentiated instruction (Doctoral Dissertation). Nakhon Pathom: Silpakorn University. [in Thai]
Powell, K. C., & Kalina, C. J. (2009). Cognitive and social constructivism: Developing tools for an effective classroom. Education, 130(2), 241-250.
Prachanban, P. (2009). Research methodology in science. Phitsanulok: Rattanasuwankanphim. [in Thai]
Somaboot, A. (2013). Constructivist theory. Retrieved May 5, 2017, from https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory [in Thai]
Subban, P. (2006). Differentiated instruction: A research basis. International Education Journal, 7(7), 935-947.
Tomlinson, C., & Marcia, B. (2011). Managing a differentiated classroom a practical guide. Scholastic Teaching Resources
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society. Cambridge: Harvard University Press.