การสร้างแบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน CONSTRUCTION OF EVALUATION ACADEMIC MINDSET OF BASIC EDUCATION STUDENTS

Main Article Content

กวีภัทร ฉาวชาวนา
ปกรณ์ ประจันบาน
ชนัดดา ภูหงษ์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 450 คน ดำเนินการวิจัยโดยสร้างแบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ โดยจำแนกออกเป็น องค์ประกอบที่ 1 การมีส่วนร่วมในชุมชนทางวิชาการ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาสติปัญญาด้วยความพยายาม องค์ประกอบที่ 3 ความเชื่อมั่นในการประสบความสำเร็จ องค์ประกอบที่ 4 การมีแรงผลักและเป้าหมายในการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การเห็นคุณค่าและความเกี่ยวข้องในการเรียนรู้ และ 2) แบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนผ่านการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination: r) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) จากผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าความเที่ยง (Reliability) ในแต่ละองค์ประกอบมีค่า 0.86, 0.92, 0.86, 0.88 และ 0.87 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ฉาวชาวนา ก., ประจันบาน ป. ., & ภูหงษ์ทอง ช. . (2022). การสร้างแบบประเมินกรอบความคิดทางวิชาการของนักเรียนระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน: CONSTRUCTION OF EVALUATION ACADEMIC MINDSET OF BASIC EDUCATION STUDENTS. Journal of Education and Innovation, 24(4), 73–83. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/248209
บท
บทความวิจัย

References

Barnett, E. (2017). An analysis of the development of positive academic mindsets in diverse IBO schools. Teacher College, Columbia University.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Farrington, C. A., Roderick, M., Allensworth, E., Nagaoka, J., Keyes, T. S., Johnson, D. W., & Beechum, N. O. (2012). Teaching adolescents to become learners. The role of noncognitive factors in shaping school performance: A critical literature review. Chicago: University of Chicago Consortium on Chicago School Research.

Foundation of Virtuous Youth. (2016). The development of growth mindset. Retrieved May 1, 2016, from http://www.cepthailand.org/index [in Thai]

Hanson, J. (2017). Testing the difference between school level and academic mindset in the classroom: Implications for developing student psycho-social skills in secondary school classrooms. Journal of Education, 3(1), 44-63.

Rungrueng, C., & Chadcham, S. (2016). Growth mindset: New approach of human potential development. Research Methodology & Cognitive Science Burapha University, 14(1), 1-13. [in Thai]

Snipes, J., Fancsali, C., & Stoker, G. (2012). Student academic mindsets interventions: A review of the current landscape. San Francisco, CA: Stupki Foundation.

Wannapayun, N. (2017). Teacher’s Approach and Development of Students’ Mindset. Hatyai Academic Journal, 15(2), 181-195. [in Thai]

Wongwanich, S. (2017). Supporting document of the 25th Thailand Measurement Evaluation and Research Conference. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]