การพัฒนาชุดการสอนสำหรับศูนย์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน: กรณีศึกษาระบบบ้านอัจฉริยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนสำหรับศูนย์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน: กรณีศึกษาระบบบ้านอัจฉริยะ 2) หาประสิทธิภาพของชุดการสอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ประเมินทักษะในปฏิบัติงานและทักษะในการทำโครงงานของผู้เรียน 5) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนสำหรับศูนย์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น การพัฒนาชุดการสอนในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความต้องการจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาและสถานประกอบการจำนวน 20 ท่าน และได้นำไปทดลองสอน (Try-out) กับนักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจจำนวน 220 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของชุดการสอนจำนวน 5 ท่าน หลังจากปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, SD = 0.45 2) ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.87/80.73 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผู้เรียนมีความรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผู้เรียนผ่านการประเมินทักษะการปฏิบัติงานทุกคนเฉลี่ยร้อยละ 81.50 และทักษะในการทำโครงงานเฉลี่ยร้อยละ 84.00 5) ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดการสอนอยู่ในระดับมาก มีค่า (
= 4.28, SD = 0.74)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Boontima, S. (2020). The development of learning packages on electrochemistryby using project -base learning for mathayomsuksa 6 studentsat princess chulabhorn science high school loei. Khon Kaen University Research Journal, 7(3), 170-182. [in Thai]
Denwittayanan, K. (2017). Smart home, Seamless life – Unlocking a culture of convenience. Retrieved January 10, 2020, from https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20170427.html [in Thai]
Jaithiang, A. (2007). Teaching principles. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]
Khunchai, S., & Thongchaisuratkrul, C. (2019). Development of smart home system controlled by android application. The 6th International Conference on Technical Education (ICTE2019, IEEE Xplore). Bangkok (pp. 87-90). King Mongkut's University of Technology North Bangkok, Thailand.
Mangkosman, W. (2008). Project approach (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
National Statistical Office. (2020). Sampling and estimation techniques. Retrieved January 10, 2020, from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf. [in Thai]
Pansiriroj, W. (2016). Education 4.0. Retrieved January 10, 2020, from https://www.applicadthai.com/articles/education-4-0/ [in Thai]
Phuworawan, Y. (2015). Teaching and learning innovation with Thailand 4.0. Briefing document for KU. Suranaree Journal of Social Science, 9(2), 133-156. [in Thai]
Thamrongsotthisakul, W. (2017). The reflection on the concepts of instructional package, learning activity package and learning package. Journal of Education Naresuan University, 19(3), 356-369. [in Thai]
Onkam, P. (2013). Development of the instructional packages by learning center on watercolor woodblock printmaking for prathomsuksa five students. Veridian E-Journal Silpakorn University, 6(4), 37-53. [in Thai]
Phromwong, C. (2013). Developmental testing of media and instructional package. Silpakorn Journal of Research Sciences, 5(1), 5-20. [in Thai]
Muendej, S., & Kaewurai, R. (2020). Development of project-based learning model with social media to enhance creativity for the lower secondary students. Journal of Education Naresuan University, 22(2), 182-192. [in Thai]
Thai Ministry of Education. (2018). The National education plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Retrieved January 10, 2020, from https://www.ksp.or.th/ksp2018 /2018/10/1834/ [in Thai]