การพัฒนาแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตน สำหรับนักศึกษาพยาบาล THE DEVELOPMENT OF EXECUTIVE FUNCTION SCALE FOR NURSE STUDENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตน สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และตัวบ่งชี้ย่อยของความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) เพื่อพัฒนาแบบวัดและตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนกความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักศึกษาพยาบาล และ 3) เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งสิ้น 2,400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ มัธยฐาน พิสัยควอไทล์ คะแนนมาตรฐานทีปกติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบที และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า
1. ตัวบ่งชี้และตัวบ่งชี้ย่อยความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักศึกษาพยาบาล มีจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ และ 16 ตัวบ่งชี้ย่อย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
2. แบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตน มีจำนวน 43 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ และข้อคำถามมีลักษณะเป็นเชิงสถานการณ์ในบริบทการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล มีจำนวน 4 ตัวเลือกเชิงพฤติกรรม เกณฑ์ในการให้คะแนนเป็นแบบ 1 – 4 คะแนน การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตน พบว่า ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.89 - 1.00 และค่าดัชนีตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 ด้านค่าอำนาจจำแนก พบว่าข้อคำถามมีอำนาจจำแนกด้วยการวิเคราะห์สถิติทดสอบที สามารถจำแนกกลุ่มต่ำและกลุ่มสูงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อ มีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า 0.2 ด้านความเที่ยงตรวจสอบด้วยวิธีความสอดคล้องภายใน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า มีความเที่ยงเท่ากับ 0.936 ด้านความตรงเชิงโครงสร้างพบว่าแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักศึกษาพยาบาล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square = 24.892, df = 15, ค่า p-value = 0.051, RMSEA = 0.033, CFI = 0.997 และ SRMR = 0.013)
3. เกณฑ์ปกติสำหรับประเมินความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักศึกษาพยาบาล แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับสูงมาก มีคะแนนมาตรฐานทีปกติมากกว่า 65 ขึ้นไป มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 157 – 172 คะแนน ระดับสูงมีคะแนนมาตรฐานทีปกติ อยู่ระหว่าง 55 – 64 มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 137 – 156 คะแนน ระดับปานกลางมีคะแนนมาตรฐานทีปกติ อยู่ระหว่าง 45 - 54 มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 117 – 136 คะแนน ระดับต่ำมีคะแนนมาตรฐานทีปกติอยู่ระหว่าง 35 - 44 มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 97 – 116 คะแนน และระดับต่ำมาก มีคะแนนมาตรฐานทีปกติ ตั้งแต่ 34 ลงมา มีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 – 96 คะแนน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Alvarez, J. A., & Emory, E. (2006). Executive function and the frontal lobes: A meta-analytic review. Neuropsychology Review, 16(1), 17-42.
Anderson, V. (1998). Assessing executive functions in children: Biological, psychological, and developmental considerations. Neuropsychological Rehabilitation, 8(3), 319-349.
Boonruengrat, S. (2007). Normalized T score. Encyclopedia of Education Faculty of Education Srinakharinwirot University, 39, 7-16. [in Thai]
Chan, R. C., Shum, D., Toulopoulou, T., & Chen, E. Y. (2008). Assessment of executive functions: Review of instruments and identification of critical issues. Archives of Clinical Neuropsychology, 23(2), 201-216.
Cooper-Kahn, J., & Dietzel, L. C. (2008). Late, lost and unprepared: A parents' guide to helping children with executive functioning. Bethesda, Md: Woodbine House.
Chankhachon, K., Naiyapatana, O., & Ngudgratoke, S. (2018). Construction of an Executive Function Self Evaluate Report Scale for Grade 10–12 in the Secondary Educational Service Area Office in Bangkok. Research Methodology and Cognitive Science, 15(2), 25-36. [in Thai]
Chularut, P., Aeamtussana, T., & Na Ayudhaya, P. (2019). A Construction of Executive Function Inventory for Adolescent Students of Junior High School Level. Social Sciences Research and Academic Journal, 14(3), 47-62. [in Thai]
Diamond, A. (2013). Executive functions. Annual Review of Psychology, 64, 135-168.
Gioia, G. A., Isquith, P. K., Guy, S. C., & Kenworthy, L. (2015). Behavior rating inventory of executive function (2nd ed.). Lutz, FL: PAR.
Gioia, G. A., Isquith, P. K., Retzlaff, P. D., & Espy, K. A. (2002). Confirmatory factor analysis of the behavior rating inventory of executive function (BRIEF) in a clinical sample. Child Neuropsychology, 8(4), 249-257. https://doi.org/10.1076/chin.8.4.249.13513
Lee, K., Bull, R., & Ho, R. M. H. (2013). Developmental changes in executive functioning. Child Development, 84(6), 1933–1953
Monsell, S. (2003). Task switching. Trends in Cognitive Sciences, 7(3), 134-140.
Thirakanan, S. (2008). Creating a Variable Measuring Instrument of Research in Social Sciences: The guideline of practice. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Saengsawang, T., Langka, V., & Semheng, S. (2016). A Development of Executive Function Skills Indicators for Elementary Students. BU Academic Review, 15(1), 14-28. [in Thai]
Van der Elst, W., Ouwehand, C., van der Werf, G., Kuyper, H., Lee, N., & Jolles, J. (2012). The Amsterdam executive function inventory (AEFI): Psychometric properties and demographically corrected normative data for adolescents aged between 15 and 18 years. Journal of Clinical and Experimental Neuropsychology, 34(2), 160–171. https://doi.org/10.1080/13803395.2011.625353