การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BASED ON CONSTRUCTIVISM TO ENHANCE MATHEMATICS PROBLEMS SOLVING ABILITY FOR GRADE 7 STUDENTS)

Main Article Content

นภารัตน์ แร่นาค (Naparat Ranak)
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล (Wichian Thamrongsotthisakul)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ 4 กิจกรรม นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านท่าช้าง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ t – test แบบ Dependent ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีกระบวนการการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเสนอสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นสร้างความรู้สึกอยากแก้ปัญหา 3) ขั้นลงมือแก้ไขปัญหากิจกรรม และ 4) ขั้นประเมินผลกิจกรรม และมีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 76.17/78.89 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยรวมในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chamni, W. (2012). The effect of using drill on learning equation of one-variable toward mathematical problem solving of Mathayomsuksa 1 (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirote University. [in Thai]
2. Jaiprong, C. (2011). A mathematics instructional activities adapting and applying a variety of problem-solving strategies to enhance ability to solve mathematical problems on functions for Mathayomsuksa IV students (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirote University. [in Thai]
3. Klomim, K., Namnak, C., Kaewurai, W., & Thumrongsotthisakul, W. (2014). A development of learning model based on constructivist theory of a scaffolding to enhance on mathematic problem solving skill for lower for the Mattayomsuksa 1. Journal of Education Naresuan University, 16(2), 123-139. [in Thai]
4. Phuudom, J. (2001). The development of mathematics-focused instructional models (Doctoral dissertation). Bangkok: Srinakharinwirote University. [in Thai]
5. Pipitkun, Y. (2002). Teaching mathematics. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
6. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). Mathematical skills and processes. Bangkok: Charoen Printing. [in Thai]