แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 49 คน ปีการศึกษา 2559 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการใช้ชั้นเรียนตามวงจร PAOR ทั้งหมด 3 วงจร ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 3 แผน จากนั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ และใบกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานโดยเลือกใช้การทดลองอย่างง่ายที่เห็นผลการทดลองได้ชัดเจน ใช้เวลาในการทำกิจกรรมไม่มาก และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นครูผู้สอนต้องเลือกใช้สถานการณ์ที่เป็นปัญหาในชีวิตจริง กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการอภิปรายจนนำไปสู่การสรุปประเด็นต่างๆเป็นมติของกลุ่ม อีกทั้งต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนนำเสนอผลจากการทดลองต่อชั้นเรียน เป็นการเพิ่มมุมมองเกี่ยวกับการแก้ปัญหาว่ามีวิธีแก้ไขมากมาย และกลับไปพัฒนาวิธีการของกลุ่มตน และปิดท้ายโดยการสรุปร่วมกันระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน และ 2) การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานช่วยพัฒนาสมรรถนะสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยนักเรียนมีระดับสมรรถนะสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์สูงขึ้นตามลำดับจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 วงจรปฏิบัติการที่ 2 และวงจรปฏิบัติการที่ 3
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Cholsin, J., Kijkuakul, S., & Chaiyasith, W. C. (2018). The action research for developing learning management on stoichiometry based on stem approach emphasized engineering design process to promote collaborative problem solving competency. Journal of Education Naresuan University, 20(2), 125-141. [in Thai]
Chomphupart, S. (2011). A development of instructional behavior for the creative problem solving of teachers and students at the science gifted students promotion school using emancipatory action research (Doctoral dissertation). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Girdtham, C. (1999). Student-centered science teaching. Bangkok: Complex print Press. [in Thai]
Jitjak, F. (2015). Effects of Problem-Based Learning Packages on Chemical Reaction on Achievement and Creative Problem Solving of Grade 12 Student. In The 6th National and International Conference on Research and International Studies (pp. 356-366). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai]
Khammani, T. (2014). Science of teaching: Body of knowledge for effective management of learning process (18th ed.). Bangkok: Darnsutha Press. [in Thai]
Luachaiphanit, W. (2015). Creativity-Based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University, 1(2), 23-37. [in Thai]
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2013). PISA 2015 draft collaborative problem solving framework. Retrieved August 18, 2016, from https://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/Draft%20PISA%202015%20Collaborative%20Problem%20Solving%20Framework%20.pdf
Pornrungroj, C. (2003). Creative thinking. Bangkok: Darnsutha Press. [in Thai]
Poophasuk, W. (2012). Computer multimedia with problem-based learning in science subject to enhance problem solving ability of matthayomsuksa 2 students. Rachaphruek Journal, 10(2), 75-82. [in Thai]
Riangnarong, M., & Silanoi, L. (2015). The development of grade 7 students’ 21st century learning and achievement through creativity - based learning (CBL) in the S 21103 Social Studies Subject. Journal of Education, 38(4), 141-148. [in Thai]
Sornsuwan, N. (2015). Knowledge of 21st century classroom. Retrieved August 18, 2017, from https://lri.co.th/news_detail.php?news_id=312 [in Thai]
Wachirasakmongkol, B. (2012). Group dynamics: Fundamental of collaboration. Rachaphruek Journal, 10(2), 6-17. [in Thai]