การบริหารและการบริการสนับสนุนผู้เรียนพิการในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ADMINISTRATION AND SUPPORT SERVICES FOR STUDENTS WITH DISABILITIES IN THE COLLEGES UNDER THE OFFICE OF VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION)

Main Article Content

ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส (Piyarat Nuchpongsai)
ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล (Teerasak Srisurakul)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและบริการสนับสนุนผู้เรียนพิการ การสำรวจใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารวิทยาลัย จำนวน 170 คน ครูผู้สอน จำนวน 733 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้แทนจากวิทยาลัย ซึ่งเป็นแกนนำในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) วิทยาลัยส่วนใหญ่เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นสำหรับคนพิการ และในวิทยาลัยบางแห่งเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรที่เปิดสอนระยะสั้น เช่น หลักสูตรการทำขนมไทย อาหารไทย ช่างตัดผม หลักสูตรประกาศนียบัตร เช่น การตลาด การบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ อีเล็กทรอนิกส์ 2) การบริหารหน่วยบริการสนับสนุนนักเรียน นักศึกษาพิการควรขึ้นอยู่กับรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และมีหัวหน้าหน่วยเป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษา มีเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 คน เจ้าหน้าที่บริการมีตำแหน่งเป็นนักวิชาการ โดยจำนวนขึ้นอยู่กับภาระงานของแต่ละวิทยาลัย และ 3) บทบาทหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยบริการสนับสนุนผู้เรียนพิการ ได้แก่ การจัดวางระบบ การทำแผน การส่งเสริมเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ การประเมิน และการทำระบบฐานข้อมูล ส่วนบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บริการ ได้แก่ การจัดหาสื่อ อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก การประสานงานกับหน่วยอื่นเพื่อปรับสภาพแวดล้อม และการหางานทำระหว่างเรียนหรือปิดภาคเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Combine power ‘Civil state’ create career for persons with disabilities. (2016, June 22). Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/content/31740-รวมพลัง‘ประชารัฐ’ สร้างคนพิการ.html [in Thai]
2. Duffy, J. T., & Gugerty, J. (2005). The role of disability support services. In Getzel, E. E., & Wehman, P. (Eds.), Going to college (pp. 89-115). Sydney: Paul H Brookes.
3. Educational Provision for Persons with Disabilities Act, B.E. 2551. (2008, February 5). Government Gazette. 125 (28a), 1-13. [in Thai]
4. Harbour, W. S. (2009). The relationship between institutional unit and Administrative Features of disability services offices in higher education. Journal of Postsecondary Education and Disability, 21(3), 138-154.
5. Manager Online. (2014, September 25). Quality of life. Retrieved from https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111482 [in Thai]
6. Mongkolsawadi, S., Tongsata. P., Sansaporn, S., & Yaikaensai, P. (2009). Final report in employment support system for people with disabilities in open labour Market. Pattaya: The Redemptorist. [in Thai]
7. Shaw, S. F. (2002). Postsecondary supports for students with disabilities. Retrieved from https://www.ncset.hawaii.edu/institutes/mar2002/papers/pdf/POSTSECONDARY%20SUPPORTS%20.PDF
8. Stodden, A. R. & Conway, A. M. (2003). Supporting individuals with disabilities in postsecondary education. American Rehabilitation, 27, 24-33.
9. Tagayuma, A., Stodden, A. R., Chang, C., Zeleznik, E. M. & Whelley, A. T. (2005). A two-year comparison of support provision for persons with disabilities in postsecondary education. Journal of Vocational Rehabilitation, 22, 13-21.
10. The Office of Vocational Education Commission. (2014). The Office of Vocational Education Commission annual report 2014. Bangkok: Minburi Technical College. [in Thai]
11. Wongkhiao, S., & Kornpuang, A. (2017). The administration model for enhancing mainstreaming standard of inclusive schools under the office of the basic education commission. Journal of Education Naresuan University, 19(2), 230-244. [in Thai]