การพัฒนาความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษามลายู เรื่อง หน่วยคำเติม (affix) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยใช้หนังสือชุดดิจิทัลการสร้างคำกริยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในยุค 4.0 กับความท้าทายในการเรียนการสอนยุคดิจิทัลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษามลายู เรื่อง หน่วยคำเติม (affix) และความพึงพอใจของนักศึกษาโดยใช้หนังสือชุดดิจิทัลการสร้างคำกริยา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาจำนวน 32 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาไวยากรณ์สำหรับครูภาษามลายู 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental research) แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนสอบหลัง (One Group Pretest Posttest Control Group Design) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าผลสัมฤทธิ์การใช้หนังสือชุดดิจิทัล การสร้างคำกริยา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือชุดดิจิทัลการสร้างคำกริยา แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือดิจิทัลการสร้างคำกริยาอยู่ในระดับมาก ( = 4.36) จากผลการวิจัยสามารถอธิบายได้ว่า การเรียนด้วยหนังสือชุดดิจิทัลการสร้างคำกริยา ทำให้ผู้เรียนชอบ สนุก และสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นการเรียนด้วยหนังสือชุดดิจิทัลช่วยผู้เรียนมีความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษามลายูมากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นว่าการเรียนด้วยหนังสือชุดดิจิทัลการสร้างคำกริยา สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนและมีความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์อีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ลงในวารสารมนุษย์กับสังคม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมนุษย์กับสังคม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมนุษย์กับสังคมก่อน
References
Bernard, R. M., Borokhovski, E., Schmid, R. F., Tamim, R. M., & Abrami, P. C. (2014). A meta-analysis of blended learning and technology use in higher education: from the general to the applied. Journal of Computing in Higher Education, 26(1), 87-122.
Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning and theory of instruction (4th ed.). Holt, Rinehart, and Winston.
Masae, A., Baleh, S., & Tamphu, S. (2020). The development of Malay lessons for travelers in Thai-MOOC of Malay language for communication course, Yala Rajabhat University. Journal of Yala Rajabhat University, 16(2), 258-266.
Masae, A., & Hasbulloh, N. (2021). Developing innovative digital books in Malay language on the topic of verbs construction for Malay language teaching students, Yala Rajabhat University. Journal of Information and Learning, 32(1), 1-16.
Means, B., Bakia, M., & Murphy, R. (2014). Learning online: what research tells us about whether, when and how. Routledge.
Mueangkaew, S. & Aphiratvoradej, K. (2018). Development of electronic book (E-book) on neighboring countries language and culture course for first year students in Bansomdejchaopraya Rajabhat University. CMU Journal of Education, 2(1), 18-32.
Nurul Ain, A. & Nik Nur Athirah, N. M. A. (2021). Error analysis in international students’ Malay language written compositions. International Social Science and Humanities Journal, 4(1), 113-127.
Panyaamornwat, Th., & Suthithanakul, A. (2014). Development of multimedia media for teaching basic Chinese language. The Panyapiwat Academic Conference no. 4 (34-43). Panyapiwat Institute of Management.
Wayo, W., Charoennukul, A., Kankaynat, Ch., & Konyai, J. (2020). Online learning under the COVID-19 epidemic: concepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298.
Waenasae, R., Napapongs, W., Kaosaiyaporn, O., & Tehhae, I. (2020). Effects of using augmented reality for improving learning achievementon Arabic consonant pronunciation of grade 3 students. Journal of Information and Learning, 31(3), 11-21.