ถอดรหัสวัฒนธรรมในภาพผะเหวดอีสาน

Main Article Content

จารุวรรณ ธรรมวัตร

บทคัดย่อ

การศึกษาประเด็น “ถอดรหัสวัฒนธรรมในภาพผะเหวดอีสาน” เป็นงานวิจัยด้านคติชนวิทยาโดยศึกษา ผ้าวาดภาพผะเหวดอีสานแบบม้วนยาวจากสิบสามชุมชนคือ ชุมชนอีสาน 10 แห่ง ชุมชนผู้ไท 2 แห่ง และชุมชนลาว ณ นครเวียงจันทน์ 1 แห่ง แนวคิดในการศึกษาคือ ผ้าวาดภาพผะเหวดอีสานเป็นศิลปะพื้นบ้าน (Folk Arts) ที่เหมือนโลกหลายใบที่ช่างพื้นบ้านสร้างขึ้นทับซ้อนกันอยู่ โดยช่างได้แรงบัลดาลใจจากนิทานเรื่องผะเหวดสันดรชาดก จากจินตนาการของตนเองและจากความทรงจำในวิถีสังคมและวัฒนธรรม ภาพวาดทุกชุดมีความหมายที่ตีความได้หลายระดับทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงที่เหมือนการเล่นซ่อนหา เช่นภาพวาดกัณฑ์ทศพร เป็นภาพแสดงอำนาจของพระอินทร์ที่ให้พรสิบประการตามคำขอของพระนางผุสดี ความหมายโดยตรงคือการบอกเล่าความปรารถนาสิบประการของผู้หญิง แต่ความหมายแฝงคือล้อเลียนการเสพย์สุขทางสายตาบนเรือนร่างที่งามราวเทพสร้างให้เป็นเรือนร่างของผู้หญิง การให้ความหมายเป็นการถอดรหัสวัฒนธรรมสายตาที่ทบทวนการรับรู้และการเข้าใจในนิทานชาดกเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งทำหน้าที่นิทานศักดิ์สิทธิ์ในประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญใหญ่ของชาวอีสาน ผลการศึกษาอธิบายข้อค้นพบในประเด็นต่อไปนี้
1) รูปลักษณ์ผ้าผะเหวดอีสาน
2) การเล่าเรื่องด้วยอนุภาคเหตุการณ์
3) ชุมชนและบุคคลตามจินตนาการแบบท้องถิ่น
4) การต่อสู้ด้านอุดมการณ์ในนิทานผะเหวดสันดรอีสาน
5) บรรทัดฐานทางสังคม
6) ความอนาจารในผ้าวาดภาพผะเหวด
7) ความหมายเชิงสัญญะของตัวละคร
8) ความเปลี่ยนแปลงของผ้าผะเหวด
9) การสร้างพิพิธภัณฑ์ผ้าวาดภาพผะเหวด

Article Details

How to Cite
ธรรมวัตร จ. . (2024). ถอดรหัสวัฒนธรรมในภาพผะเหวดอีสาน. วารสารมนุษย์กับสังคม, 1(1), 6–31. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husocjournal/article/view/272138
บท
บทความวิชาการ

References

กุลนิจ คณะฤกษ์. (2542). การศึกษาร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก พระราชนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คงเดช ประพัฒน์ทอง. (2527). พระบฏ. ในพระบฏและสมุดภาพไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

คณะสงฆ์ภาค 9. (2557). ลำพระเวส-เทศน์มหาชาติ. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

จักรพันธ์ วิลาสินี. (2547). พลังการวิจารณ์ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.

เฉลิม สุขเกษม. (2509). สารานุกรมมหาเวสสันดรชาดก. พระนคร: แพร่พิทยา.

ชัยณรงค์ ดีอินทร์. (2544). พระเทวาภินิมมิต (ฉ่าย เทียมศิลป์ไชย). วารสารศิลปากร, 49(2), 16-29.

ชนิต อยู่โพธิ์ และศิลปะ พีระศรี. (2502). จิตรกรรมบนผืนผ้า หรือพระบฏ. นิตรสารศิลปากร, 3(4), 39-48.

นัดดา หงส์วิวัฒน์. (2549). ทศชาติชาดกกับจิตรกรรมฝาผนังเวสสันดรชาดก ภูริทัตตชาดก จันทกุมารชาดก นารทชาดก วธุรชาดก. กรุงเทพฯ: แสงแดดเพื่อนเด็ก.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2554). คติชนกับชนชาติไท. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ปรมินท์จารุวร. (2554). กาญจนนิมิต : คติชนเนื่องด้วยความเชื่อและประเพณีสวดพระมาลัยที่บ้านหนองขาว. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณี พยอมยงค์. (2519). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบมหาชาติฉบับภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วินัยธร มานพ ปาละพันธ์, พระครู. (2551). รูปแบบการสื่อสารและการพัฒนาทำนองแหล่เทศน์มหาชาติภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิราพร ณ ถลาง. (2551). ทฤษฏีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย นิลอาธิ. (2530). “พระเทวาภินิมมิต จิตรกรเอกชาวอีสานในราชสำานักจักรีวงศ์.” วารสารเมืองโบราณ, 13(1). ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ก.ค.58 - ธ.ค.58) คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Faculty of Humanities and Social Science Mahasarakham University 31

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2524). มหาชาติและประเพณีเทศน์มหาชาติ. ใน มหาชาติเอกสารประกอบการประชุมวิชาการและการเทศน์มหาชาติ 21-22 มีนาคม 2524. ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kaiser, Thomas. (2012). Painted Songs. Arnoldsche Art Publishers. Stuttgart, EthnographicMuseum of the University of Zurich.

Bonnie Pacola Brereton and SomroayYencheuy. (2010). Buddhist Marols of Northeast Thailand Reflections of Isan Heartland. Chiangmai, Mekong Press.

Lefferts, Heledom, (2006/2007). The Bun Phra Wet Painted Scrollo of Northeastern Thailand in the Walters Art Museum. Journal of the Walters Art Museum, 64(65) : 99-118.