กูย : ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และตำนาน

Main Article Content

บัญญัติ สาลี

บทคัดย่อ

ประวัติความเป็นมาที่ยาวนานของกลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกวยทำให้ทราบพื้นที่ที่ อพยพและตั้งถิ่นฐานหลายแห่งผ่านชื่อบ้านนามเมืองที่ปรากฏในพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค เอเชียอาคเนย์ กูยหรือกวยถือว่าเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่นี้ การ อพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสานของประเทศไทยแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานและกาล เวลาที่จะตอบคำถามให้ชัดว่า “กูยหรือกวยมาเมื่อใด มาจากไหน เพราะเหตุไรจึงอพยพมา และมาจำนวนเท่าไร” ก็ตาม แต่กลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกวยถือว่ามีบทบาทในพื้นที่อีสานตอน ใต้ และอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน กลายเป็นชุมชนกูยหรือกวย และที่หนาแน่นที่สุดก็คือ พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้ยังมีหัวหน้าชาวกูยหรือกวยหลายคนมีบทบาทการเมืองการ ปกครองจนได้รับยศฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าปกครองเมือง ได้แก่ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง, พระศรีนครเตา, พระสังฆบุรี และพระไกรศรีนครลำดวน
คำว่า “เขมรป่าดง” และ “ส่วย” เป็นคำนิยามที่คนไทยเรียกจนคุ้นชินจากโดยอาศัย พื้นที่ที่อาศัยอยู่และการทำหน้าที่ในสังคมที่การปกครองไทยมอบให้คือการส่งส่วย แต่ชาว กูยหรือกวยก็ยังมั่นคงในคำเรียกชื่อตนเองว่า “กูยหรือกวย กวย โกย หรือ กุย” ซึ่งมีความ หมายว่า “คน” ที่มีภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แสดงเห็นถึงอัตลักษณ์ของกูยหรือกวย จนเป็นที่ยอมรับในกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ว่า “สุรินทร์เป็นดินแดนที่ชาวกูยหรือกวยสร้างสรรค์ ผลงานไว้อย่างมาก”
วัฒนธรรมกูยหรือกวยที่เด่น ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ที่เรียกว่า ยะจูฮ์, การทำนายเพื่อสืบหาสิ่งของทรัพย์สินที่หายไป ชาวกูยหรือกวยเรียกว่า “โปล”, การรักษา โรคด้วยวิธีการบำบัดตามแนวความเชื่อ กูยหรือกวยเรียกว่า “แกลมอ” และพิธีกรรม ความ เชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงช้าง
สถานภาพวัฒนธรรมกูยหรือกวยในปัจจุบันอาจถือว่าอยู่ในช่วงที่ก้าวไปสู่ วัฒนธรรมวิกฤต เพราะอิทธิพลจากวัฒนธรรมชาติอื่นๆ เข้ามามีบทบาทต่อสังคมมากและ ครอบงำวัฒนธรรมกูยหรือกวยดั้งเดิม กลายเป็นวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างกูยหรือกวย กับวัฒนธรรมอื่น จึงควรมีมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องช่วยอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรม กูยหรือกวยให้เหลือตกทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลายกูยหรือกวยในอนาคต

Article Details

How to Cite
สาลี บ. (2024). กูย : ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และตำนาน. วารสารมนุษย์กับสังคม, 1(1), 32–54. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husocjournal/article/view/272217
บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ ระลึก. (2002). การฟ้อนสะเอิงของชาวไทยกูย. The 8th International Conference on Thai Studies.

เครือจิต ศรีบุณนาคและคณะ. (2536). ความเชื่อและระบบสัญลักษณ์เกี่ยวกับผ้าไหมไทยกูย. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง ผ้าไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต, ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย.

จิรัฐ เจริญราษฎร์. (2525). ภาษากวย(ส่วย) ที่จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดำาเนิร เลขะกุล, พลโท. (2546). สุรินทร์ในอดีด. อนุสาร อ.ส.ท. 6(3), 8-9,66-68.

นฤมล จิตต์หาญ. (2546). ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้างของชาวกูย : กรณีศึกษาหมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิคม วงเวียน. (2533). บทวิเคราะห์วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวส่วย. วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล : กรณีศึกษา เขมร ลาว ส่วย, กรุงเทพฯ: บริษัท สารมวลชนจำกัด. 181-197.

นิรัญ สุขสวัสดิ์. (2541). เปรียบเทียบพิธีกรรมการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์กูย และเขมรบ้านโพนทองกับบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา เน้นสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นพวรรณ สิริเวชกุล. (2541). ข้อมูลและพัฒนาการทางสังคม การปรับตัวต่อปัญหาเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่และการผลิตของ ชาวกูยที่บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

บัญญัติ สาลี. (2552). การปรับตัวกลุ่มชาติพันธุ์เขมรและนัยการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

_________. (2552). แซนโฎนตา: บทบาทศูนย์รวมใจแห่งกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ประเสริฐ ศรีวิเศษ. (2521). พจนานุกรมกูย (ส่วย) - ไทย - อังกฤษ. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยภาษาไทยและภาษาพื้นเมืองถิ่นต่าง ๆ สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยพันธุ์ สรรพสาร. (2546). วิเคราะห์บทสู่ขวัญของชาวกูย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยะวัฒน์ พันธมาศ, พระมหา. (2548). ภาษากูย ที่บ้านสาวย ตำบลสวาย อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ มีกุศล. (2527). ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยศึกษากรณีหัวเมืองเขมรป่าดอย สุรินทร์ สังขะและขุขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยวอชิงตัน.

ภาพแสดงแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียอาคเนย์. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.joshuaproject.net [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2557].

สะอิง แสงมีน. (2535). ภาษากูย(ส่วย) ที่บ้านเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2538). สารานุกรมชนชาติกูย. นครปฐม: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

โสฬส ศิริไสย์ และคณะ. (2538). สารานุกรมชนชาติกูย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล: นครปฐม.

สมเกียรติ อินทอำาภา. (2543). บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีชาติพันธุ์ไทย-กูย บ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. สาขาวิชาไทยคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันชัย คำาพาวงศ์. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมการเล่นแกลมอของกลุ่มชาวกูยบ้านตรึมและกลุ่มชาวกูยบ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.

วิลาศ โพธิสาร. (2546). การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมในเขตอีสานใต้. รวมบทความทางวิชาการไทศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 152-189.

อิศราพร จันทร์ทอง. (2537). บทบาทหน้าที่ต่อชุมชนและวิถีชีวิตในพิธีแก็ลมอของชาวกูยบ้านสำโรงทาบ ในด้านระบบความเชื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนที่ทำการศึกษา. หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรัญญา พงศ์สะอาด. (2544). อิทธิพลของวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อพฤติกรรมทางการเมือง กรณีศึกษาพิธีแซนยะของชุมชนชาวกูย ตำบลแจนแวนกิ่ง อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครองบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอกวิทย์ จิโนวัฒน์. (2526). ศึกษาเปรียบเทียบการสร้างคำในภาษากูย บรู และโซ่. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Johnston, Bealah M. (1976). “Kuy.” Phonemes and Orthography : Language Planning in tenMinority Language of Thailand. ed. By William A. Smalley.

Pailin, Yantreesingh. (1980). “The Phonology of the Kuay Language of Suphanburi with Comparison to The Kuy Langluage of Surin.” Master’s thesis of Mahidol University.