ค่านิยมและความเชื่อในชื่อของนักมวยไทย

Main Article Content

ธนานันท์ ตรงดี

บทคัดย่อ

การตั้งชื่อเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของบุคคล เพราะชื่อสามารถที่จะนำไปใช้เพื่อแยกบุคคลได้ ในขณะเดียวกันการตั้งชื่อยังสะท้อนความคิด ค่านิยม และความเชื่อของเจ้าของชื่อนั้นด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับค่านิยมและความเชื่อที่สะท้อนจากชื่อนักมวยไทย ข้อมูลได้จากนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย 4 หัวชื่อ รวบรวมได้ชื่อของนักมวย 800 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความหมาย แล้วจัดหมวดหมู่ของความหมาย ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า
ชื่อของนักมวยไทยที่เป็นนามลักษณ์ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากคำ 2 คำ คือ คำต้นชื่อ และคำท้ายชื่อ คำต้นชื่อเมื่อนำมาจัดหมวดหมู่ของความหมายแล้วสามารถจัดได้เป็น 26 หมวด ความหมายที่นิยมนำมาใช้ตั้งชื่อ ลำดับแรกได้แก่ ยอดเยี่ยมและเก่งกล้า น้อยที่สุดคือ ความเจ้าเล่ห์
เมื่อนำส่วนคำท้ายชื่อมาจัดหมวดหมู่ของความหมายจัดได้ 26 หมวด ความหมายที่นิยมมาก ลำดับแรกคือ สิ่งล้ำค่า น้อยที่สุดคือ สิ่งด้อยค่า ข้อค้นพบนี้มีงานวิจัยชิ้นอื่นนำมาสนับสนุนได้เป็นอย่างดีว่า นักมวยต้องการความเก่งกล้ามากที่สุด ก่อนที่จะเข้าสู่การต่อสู้

Article Details

How to Cite
ตรงดี ธ. (2024). ค่านิยมและความเชื่อในชื่อของนักมวยไทย. วารสารมนุษย์กับสังคม, 1(1), 110–122. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husocjournal/article/view/272246
บท
บทความวิจัย

References

จักรวาลมวย. (ม.ป.ป.). ปีที่ 34, บริษัท เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส จำกัด.

แชมป์. (ม.ป.ป.). ปีที่ 27, บริษัท เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส จำกัด.

ธนานันท์ ตรงดี. (2551). ทำเนียบภาษากีฬามวยไทย. โครงการวิจัยโดยได้รับการสนับสนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มวยตู้. (ม.ป.ป.). ปีที่ 22, เค. เอส. พับลิซชิ่ง.

มวยสยาม. (ม.ป.ป.). ปีที่ 23, สยามสปอร์ตมีเดีย แมเนจเม้นท์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2535). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม: ภาพพจน์ โวหาร และกลการประพันธ์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

อำนาจ สายฉลาด. (2537). การศึกษาการใช้ไสยศาสตร์และความเชื่อโชคลางของนักมวยระดับแชมเปี้ยนในการแข่งขันมวยไทย ตามการรับรู้ของนักมวย หัวหน้าคณะและผู้ฝึกสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.