บทสำรวจองค์ความรู้จากงานเขียนที่เกี่ยวกับ ”ส.ส.อีสาน” ระหว่าง พ.ศ. 2530-2550

Main Article Content

พรรณิกา ฉายากุล

บทคัดย่อ

บทสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับ ส.ส. อีสาน ระหว่าง พ.ศ. 2530 - 2550 มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับ ส.ส. อีสานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวว่ามีประเด็นใดบ้างที่ได้ทำการศึกษาไปแล้ว และมีประเด็นการศึกษาใดยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัย รวมไปถึงวิเคราะห์เนื้อหา วิธีการศึกษา และประเด็นต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการพิจารณาหาหัวข้อ หรือประเด็นสำหรับการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของ ส.ส. อีสานต่อไป โดยบทความชิ้นนี้จะเน้นการสำรวจจากงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ในสาขาประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับ ส.ส. อีสาน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2530-2550)
ผลการสำรวจพบว่า การศึกษาเรื่องของ ส.ส. อีสาน ระหว่าง พ.ศ. 2530 – 2550 กลุ่มที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจะเป็นกลุ่มของนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เพียงกลุ่มเดียว แต่ในระยะช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาก็เริ่มปรากฏให้เห็นถึงความพยายามและสนใจศึกษาเรื่องราวของ ส.ส. กลุ่มอื่นเพิ่มมากขึ้นและถ้าพิจารณาในประเด็นของแนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายเรื่องของ ส.ส. อีสาน ระหว่าง พ.ศ. 2530 – 2550 นั้นไม่ปรากฏว่ามีการใช้แนวคิดหรือทฤษฏีใดเป็นหลักอย่างชัดเจน แต่จะเป็นการให้คำอธิบายตามเนื้อหาของหลักฐานที่นำมาศึกษาเป็นหลัก

Article Details

How to Cite
ฉายากุล พ. (2024). บทสำรวจองค์ความรู้จากงานเขียนที่เกี่ยวกับ ”ส.ส.อีสาน” ระหว่าง พ.ศ. 2530-2550. วารสารมนุษย์กับสังคม, 1(1), 139–156. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husocjournal/article/view/272249
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมเกียรติ ภาระเวช. (2545). ขบวนการเสรีไทยสายอีสาน: ข้อสังเกตเบื้องต้น. ใน โครงการตำราคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ รองศาสตราจารย์ อุดม พิริยะสิงห์ พิริยนุสรณ์ บทสำรวจองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ ในปริญญานิพนธ์หลักสูตรไทยคดีศึกษา. มหาสารคาม: โครงการตำราคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฉลิมเกียรติ ภาระเวช. (2542). บทบาททางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นอีสาน พ.ศ. 2481-2495. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย บุญเสนอ. (2536). การรวมกลุ่มของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2546). การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธีรวัชร ประนัดสุดจ่า. (2542). แนวความคิดและบทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคามในช่วงปี พ.ศ. 2480-2492. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิรันดร์ กุลฑานันท์. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ประสพ วงศ์หนองหว้า. (2537). บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด กับการพัฒนาสู่ตระกูลการเมือง พ.ศ. 2480-2529. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พรรณิกา ฉายากุล. (2547). ส.ส. อีสานกลุ่มแนวคิดสังคมนิยม พ.ศ. 2490-2506. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชญ์ สมพอง. (2551). นักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

พีรยา คูวัฒนศิริ. (2533). แนวคิดและบทบาททางการเมืองของทองอินทร์ ภูริพัฒน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระวี ประสงค์ศิลป์. (2536). พัฒนาการของขบวนการต่อสู้ทางการเมืองในจังหวัดอุดรธานี: ศึกษาการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 12 - 15 (พ.ศ.2522 - 2531). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริพร ศรีพนมเขต. (2544). การรวมกลุ่มทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2500 – 2538. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมชัย ภัทรธนานันท์. (2548). “อีสานกับรัฐไทย: การครอบงำความขัดแย้ง และการต่อต้าน” มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 24(2), 99-122.

สหชาติ ทันที. (2550). ความคิดทางการเมืองของนายไขแสง สุกใส. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวัฒน์ชัย แสนราช. (2541). แนวความคิดและบทบาททางการเมืองของนายถวิล อุดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.2480-2492. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุเชาวน์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สำรวน ศิริบุรี. (2537). แนวคิดทางการเมืองและบทบาทของนายแคล้ว นรปติ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อดิเรก บุญคง. (2536). บทบาทของขบวนการเสรีไทยสายอีสานและบทบาททางการเมืองของสมาชิกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484-2495. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิสิทธิ์ กิจเจริญสิน. (2542). แนวความคิดและบทบาททางการเมืองของนายเตียง ศิริขันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนครในช่วงปี พ.ศ. 2480-2495. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.