การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนวัฒนธรรมด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่านครลำปาง

Main Article Content

เพียงกานต์ นามวงศ์
ศิริขวัญ ปัญญาเรียน
อนุพงษ์ ฉัตรสูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบนพื้นฐาน  ทุนทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่านครลำปาง 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่านครลำปาง และ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในย่านเมืองเก่านครลำปาง วิธีดำเนินงานวิจัยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research, PAR) พื้นที่การวิจัยประกอบด้วย ชุมชนนาก่วมเหนือ ชุมชนนาก่วมใต้ และชุมชนพระธาตุ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความต้องการของนักท่องเที่ยวแบบประเมินศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (semi-structured interview) ผลการศึกษาพบว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม โดยนำเอาวัฒนธรรมประจำชาติซึ่งเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ เป็นต้นทุนที่สามารถสร้างรายได้ให้สังคมอยู่ดีกินดีมีความมั่นคง วัฒนธรรมจึงเป็นกลไกที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศ กระจายรายได้สู่ชุมชน และศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่านครลำปางมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูง และมีวรรณกรรมพื้นบ้าน ในคัมภีร์ใบลานอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิมมีการนำองค์ความรู้มาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยววัฒนธรรม ประกอบด้วย 1) พัฒนาสภาพแวดล้อมและปรับภูมิทัศน์ 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 3) จัดการความรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ยกระดับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 5) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ 6) ยกระดับผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องจัดการความรู้และพัฒนา แหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ควบคู่กับการยกระดับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์สร้างสรรค์

Article Details

How to Cite
นามวงศ์ เ., ปัญญาเรียน ศ. ., & ฉัตรสูงเนิน อ. . . (2024). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนวัฒนธรรมด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่านครลำปาง. วารสารมนุษย์กับสังคม, 10(2), 45–70. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husocjournal/article/view/272947
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ศิริโรจน์, อุบลวรรณ หงส์วิทยากร, และละเอียด ศิลาน้อย. (2561). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. Journal of Education Studies, 47(3), 1-24.

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ แผนปฏิบัติการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://secretary.mots.go.th/download/PDF/Action%20Plan%20for%20Tourism%20Development.pdf

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดลำปาง. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง 5 ปี. (พ.ศ.2561 – 2565) ฉบับทบทวน ปี2564. สำนักงานจังหวัดลำปาง. https://www.lampang .go.th/ strategy/2566/plan-r66-70-t68.pdf

จักรกวี ซื่อตรง. (2559). การศึกษาวิถีชีวิตชุมชนกับการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน นภัทร วัจนเทพินทร์ (บ.ก.), วิจัยเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนและสังคม Research for Creating Community and Society. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (The 1th RUSNC) (น. 678-685). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ชูวิทย์ ศิริโชคเวชกุล. (2551). เที่ยวให้รู้ เปิดประตูสมอง (พิมพ์ครั้งที่ 1). เอ็กซพลอเรอร์ ชาแนล.

นุทิศ เอี่ยมใส. (2555). ทุนทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีกับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ปาวีณา โทรแก้ว. (2554). ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเผ่าลีซอจังหวัดเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2565). แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐม. ใน วิรัตน์ ปิ่นแก้ว (บ.ก.), วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ Digital World. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 2873-2885). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วรภูริมูลสิน และกอปรกมล ศรีภิรมย์. (2561). พิธีบายศรีสู่ขวัญบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 19(1), 61-78.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน. โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th.

เสาวภา ไพทยวัฒน์. (2555). การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมชุมชนในสังคมเอง กรณีศึกษาชุมชนซอยโซดาและชุมชนวัดประชาระบือธรรม 1-4 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2562). ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และหมวดหมู่ของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. http://ich.culture.go.th/

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2562). วัฒนธรรมสร้างสรรค์. บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.

Bourdieu, P. (1984). Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste. Translated by Richard Nice. Routledge.