การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ปิยากร ฤทธิ์ประเสริฐ
อนุชา พิมศักดิ์
ชุลิดา เหมตะศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ประสบการณ์และความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านของครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2 .ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3. ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริม ความฉลาดรู้ด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งวิธีการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสำรวจ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา และระยะที่ 3 การประเมินและสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ ออกแบบโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ระยะที่ 1 เครื่องมือออกแบบที่ 01-16 ระยะที่ 2 เครื่องมือออกแบบที่ 17-18 และเครื่องมือระยะที่ 3 เครื่องมือออกแบบที่ 19-20 กลุ่มเป้าหมายคือครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนจังหวัดอุดรธานี โดยใช้ การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างเครซี่และมอร์แกน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ประสบการณ์และความต้องการจำเป็นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน ครูสอนการบรรยายตามหนังสือ ครูต้องการชุดกิจกรรมที่เป็นรูปแบบเล่มมาใช้ในการสอนประสบการณ์ของนักเรียน ครูขาดสื่อการสอน สอนแบบบรรยาย นักเรียนต้องการเกมหรือชุดกิจกรรมที่จะเป็นสื่อออนไลน์เข้ามาแทรกในการเรียน 2) ผลการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน ชุดกิจกรรม 9 กิจกรรม โดยผลการประเมินผู้เชี่ยวชาญอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 3) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีคะแนนหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์มากกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.5

Article Details

How to Cite
ฤทธิ์ประเสริฐ ป. ., พิมศักดิ์ อ. ., & เหมตะศิลป์ ช. . (2024). การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษย์กับสังคม, 10(2), 7–24. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husocjournal/article/view/273356
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.

กรวิชญ์ โสภา. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (DESIGN THINKING) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(1), 76-87.

ปาริตา สายนันไชย และสิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ชนิดของคำ โดยใช้หนังสือแบบฝึกหัด. วารสารวิชาการและวิจัย, 14(1), 295 – 309.

สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566, 21 พฤษภาคม). สถิติข้อมูลทางการศึกษา. http://www.bopp.go.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2566, 6 ธันวาคม). PISA THAILAND. https://www.pisathailand.ipst.ac.th.

อาธิติยา งอกสิน. (2564). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และกลยุทธ์การอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository (SURE). https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล. (2557). คู่มือการออกแบบบริการ. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). https://resource.tcdc.or.th/ebook/TCDC-Service-Design-Workbook.pdf

Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Kolb,D.A. (2005). Experiential Learning. Experience as the source of learning and development: Prentice-Hall, Inc, Englewood Cliffs, N.J.