ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความที่จะส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้องวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้สาขาภาษา ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา นิเทศศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา สารสนเทศศาสตร์ และจิตวิทยา
-
บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
-
หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
-
ความยาวของบทความ 13 - 17 หน้ากระดาษ A4 และกำหนดให้ใช้ตัวอักษร Thai Sarabun Psk ขนาด 16 พอยท์
-
รูปแบบในการเสนอบทความให้เป็นไปตามคำแนะนำผู้แต่ง (Author Guidelines) เท่านั้น
การเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ติดต่อกันมา 3 ทศวรรษ การเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ นั้นมีรายละเอียดหลักเกณฑ์และรูปแบบ ดังนี้
- ประเภทของบทความที่รับพิจารณาต้องเป็นบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์
นักวิจัย และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
- ขอบเขตเนื้อหาต้องเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ/หรือข้อมูลท้องถิ่นในภาคตะวันออก ภายใต้สาขาภาษา ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา นิเทศศาสตร์ ศาสนาและปรัชญา สารสนเทศศาสตร์ หรือจิตวิทยา
- บทความที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
รูปแบบการพิมพ์บทความ
ผู้เขียนต้องจัดบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนด ดังนี้
- การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขนาดกระดาษ A4 ตั้งระยะขอบกระดาษบนและล่าง ซ้ายและขวา 2.5 ซม. (1 นิ้ว) ระยะบรรทัด 1 เท่า (single space) พร้อมกำหนดเลขหน้ามุมบนขวาของหน้ากระดาษความยาวของบทความ
- ความยาวของบทความอยู่ระหว่าง 13-17 หน้า โดยรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง (ระบบ APA style ทั้งภายในและส่วนท้ายของบทความ)
- รูปแบบตัวอักษรในบทความ คือ TH Sarabun PSK
ส่วนแรกของบทความ
- ชื่อเรื่องภาษาไทย (TH Sarabun PSK 18 พอยท์ จัดข้อความกึ่งกลางหน้ากระดาษ ตัวอักษรตัวหนา)
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK 18 พอยท์ จัดข้อความกึ่งกลางหน้ากระดาษ ตัวอักษรตัวหนา) โดยกำหนดตัวอักษรตัวแรกของคำเป็นตัวใหญ่
- ชื่อผู้เขียน (TH Sarabun PSK 14 พอยท์ จัดข้อความชิดขวา) ระบุชื่อภาษาไทย และวงเล็บชื่อภาษาอังกฤษ และให้ใส่อ้างอิงเชิงอรรถของผู้เขียนแต่ละคน เพื่อใส่ข้อมูลข้อที่ 6
- บทคัดย่อภาษาไทย (TH Sarabun PSK 16 พอยท์) และคำสำคัญ (จำนวน 3-5 คำ) (TH Sarabun PSK 12 พอยท์) ไม่เกิน 250 คำ
- บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK 16 พอยท์) และคำสำคัญ (จำนวน 3-5 คำ) (TH Sarabun PSK 12 พอยท์) ไม่เกิน 250 คำ โดยคำสำคัญภาษาอังกฤษนั้นให้กำหนดตัวอักษรตัวแรกของคำเป็นตัวใหญ่
- เชิงอรรถ ให้ระบุข้อมูลสถานที่ทำงานหรือหลักสูตร และสถานศึกษาถ้าผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ส่วนเนื้อหาของบทความ
- เนื้อหาบทความให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยท์ และจัดข้อความชิดซ้ายทั้งหมด
- บทความวิชาการ เนื้อหาประกอบไปด้วย
- บทนำ
- เนื้อหา
- บทสรุป
- รายการอ้างอิง
- บทความวิจัย เนื้อหาประกอบไปด้วย
- บทนำ
- การทบทวนวรรณกรรม
- วิธีการวิจัย ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ 1) ประเภทของการวิจัย 2) ประชากร ตัวอย่าง และการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (กรณีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล (กรณีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ) หรืออื่น ๆ 3) เครื่องมือในการวิจัย การพัฒนา และการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 4) การเก็บรวบรวมข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูลและการรายงานผล
- ผลการวิจัย
- อภิปรายผล
- ข้อเสนอแนะการวิจัย (ข้อเสนอแนะทั่วไป และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต)
- กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
- รายการอ้างอิง
ส่วนการอ้างอิง
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ APA version 7.0 (American Psychological Association) ทั้งนี้ กองบรรณาธิการได้ทำตารางสรุปตัวอย่างวิธีการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา และการอ้างอิงในรายการอ้างอิงเบื้องต้นเพื่อช่วยในการเตรียมบทความ
ดาวน์โหลดวิธีการเขียนอ้างอิง คลิกที่นี่ค่ะ
วิธีการจัดส่งบทความ
ดาวน์โหลดแบบเสนอบทความได้ที่หน้าเว็บไซต์วารสาร และส่งบทความในรูปแบบไฟล์ Word และ Pdf เข้ารับการพิจารณาผ่านระบบออนไลน์ Thai Journals Online (Thaijo) ได้ที่ URL: https://www.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/index เท่านั้น สำหรับบทความที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว จะได้รับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่อไป
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น