การพัฒนารูปแบบการให้บริการสารสนเทศที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย: กรณีศึกษา ห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Development of a Model for Research Support Information Service for Research University: Case Study of Faculty of...
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการห้องสมุดสาขาสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เปรียบเทียบความต้องการใชบ้ ริการห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามประเภทผู้ใช้บริการ และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของการให้บริการสารสนเทศที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการห้องสมุดจำนวน 295 คน และผู้บริหารห้องสมุดของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จำนวน 4 แห่งใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-WayANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมผ้ใูช้บริการมีความต้องการใชบริการสารสนเทศในระดับมากทุกรายการ มีความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำวิจัย มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการบริการสนับสนุนการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานของนักวิจัย ด้านการบริการสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องสมุดแก่นักวิจัย ด้านการบริการอบรมให้ความรู้และการปรึกษาด้านการวิจัย และด้านการให้บริการสารสนเทศเพื่อการทำวิจัย ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบความต้องการใช้บริการสารสนเทศ พบว่า ผู้ใช้บริการประเภทต่างกันมีความต้องการบริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ในบางรายการ
The purpose of this mixed methods research were to study the services of Environment Studies libraries of the National Research Universities, to study users’ needs for library services and to compare the needs divided by types of library users in order to develop the appropriate model of information services for the library of the Faculty of Environment and Resource Studies to support Mahidol University to be a National Research University. The sampling groups were 295 library users and also library administrators from 4 national research universities. Questionnaires and in-depth interviewing method were used to get the required information and the obtained data were analyzed by percentage, mean, standard deviation. The analysis of One-Way ANOVA and Scheffe’s method were used for hypotheses testing. The results of the study can besummarized as follows:
Overall, the library users needed the research support services in a high level in all items, mostly in information resources development for research support. This was followed by publication and distribution services for researchers, physical and facilities services for researchers, research training and counseling service, and information services for research support, respectively. When the needs of information services by types of library users were compared, the statistically significant differences at the level of .05 were found in some aspects.
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น