รูปแบบของนาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งในสถานศึกษา The Pattern of Dramatic Work For Country Bands in Educational Institutions

Main Article Content

วราพร แก้วใส
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ
อุรารมย์ จันทมาลา

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของนาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งในสถานศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ด้วยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้ออกแบบท่าเต้น 3 คน นักเต้นจำนวน 15 คน นักดนตรีจำนวน 15 คน และประชาชน นิสิตนักศึกษา จำนวน 30 คน จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่ง จากการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งในรายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ ทำให้โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศตื่นตัว ทำวงดนตรีเข้าประกวด ผู้วิจัยได้ศึกษาและสังเคราะห์จนเกิดเป็นองค์ความรู้ด้านหลักการและวิธีการ จากวงดนตรีลูกทุ่งที่ชนะเลิศจากรายการชิงช้าสวรรค์รอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ประจำปี พศ. 2555-2557 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ 1) ลีลาท่าเต้น ที่ตีความตามเนื้อหาของบทเพลงโดยผสมผสานนาฏศิลป์ไทยกับนาฏศิลป์ตะวันตก 2) ดนตรี จะเรียบเรียงดนตรีขึ้นใหม่โดยเพิ่มเทคนิคให้แตกต่างจากฉบับเดิม 3) เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ออกแบบและตกแต่งตามแบบตะวันตกให้งดงามอลังการขึ้น 4) การใช้พื้นที่บนเวที โดยจัดวางอุปกรณ์การแสดง ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์มือ อุปกรณ์ฉากที่ช่วยเสริมให้ดูสมจริงมากขึ้น การสร้างสรรค์นี้มีผลให้วงดนตรีลูกทุ่งกลับมามีบทบาทในสังคมไทยอีกวาระหนึ่ง

The purpose of this research was to study patterns of dramatic work in the country bands in the educational institutions via the paper documents and the field data collection based on surveys, observations and interviews among some knowledgeable including three choreographers, fifteen dancers, fifteen musicians and thirty general people and university students. The research instruments included survey and observation forms, and structured and unstructured interview forms, then the results were presented through an analytic definition.

The study results showed that dramatic work in the country bands in Ching Cha Sa Wan Contests have encouraged participations of many secondary school country bands and allowed occurrence of varieties of new dimension of creative dramatic work in the country bands. The researcher had studied, synthesized and obtained the body of knowledge of principles and procedures from the three country band winners of Ching Cha Sa Wan Contests, the round of Champ of the Champ 2012-2014 through the following items; 1) dancing styles : relating to the song meanings with the combination of Thai and western dramatic work; 2) music : rearranged with new techniques to be differed from the original one; 3) costumes and ornaments : designed and attractively decorated in western styles; and 4) floor applications : organized with props including hand devices and backdrops creating the atmosphere of reality. These creations affected the country bands’ roles back to Thai society again.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Articles