กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาสุขภาพในชุมชนจังหวัดเลย

Main Article Content

ภัทรธิรา ผลงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านด้วยการใช้สมุนไพรในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในการบำบัดรักษา โดยการจัดทำเป็นตำรับ (ขนาน) ตามอาการของโรคต่าง ๆ ในระบบของร่างกาย ซึ่งวิธีการรักษาของหมอพื้นบ้านนั้น มีความสัมพันธ์กับความเชื่อต่าง ๆ ตามวิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยหมอพื้นบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยจากความเชื่อในพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญ ความเชื่อเกี่ยวกับธาตุสี่ ขันธ์ห้า และความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์ตามดวงชะตาราศี ผลการศึกษาวิธีการถ่ายทอดภมูิปัญญาหมอพื้นบ้านด้วยการใช้สมุนไพร โดยระบบการถ่ายทอดภมูิปัญญาหมอพื่นบ้านมีการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในระดับเครือญาติ การถ่ายทอดจากหมอพื้นบ้านสู่บุคคลที่สนใจการถ่ายทอดจากหมอพื้นบ้านสู่ผู้รับการบำบัดรักษาที่หายแล้ว การถ่ายทอดจากสถาบันทางการศึกษาและการถ่ายทอดจากตำราแผนโบราณ วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน มีการถ่ายทอดในระดับครอบครัว ชุมชน และในระดับประเทศ โดยมีวิธีการการบอกเล่าบรรยายด้วยวาจา การสาธิต การปฏิบัติ จริง วิธีถ่ายทอดโดยให้เรียนรู้จากสื่อด้วยตนเอง วิธีถ่ายทอดโดยการจัดแสดงนิทรรศการในรูปของแหล่งเรียนรู้วิธีถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยบันทึกองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ

References

ชุลีกร ขวัญชัยนนท์. (2540 ). โครงการศึกษาวิจัยศักยภาพหมอยาพื้นบ้านในเขตอำเภอ หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ชูชาติ เหลี่ยมวานิช. (2537). เครือข่ายการเรียนรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในชุมชนชนบท.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดารณี อ่อนชมจันทร์. (2550). สภาวะสุขภาพกับวิถีการดูแลรักษาแบบพื้นบ้านของชาวอาข่ากรณีศึกษา ชาวอาข่าอำเภอแม่ฟ้าหลวง
จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรีชา อุยตระกูล และคณะ. (2531). บทบาทหมอพื้นบ้านในสังคมชนบทอีสาน. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

พระสุริยา มาตย์คำ. (2552). การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในประเทศไทยและ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พิทยา สายนำทาน. (2540). กระบวนการทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพอนามัยในชุมชนพื้นที่สูง. เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2554). การพัฒนาตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อรักษาโรคในชุมชน. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

รุ้งรังษี วิบูลชัย. (2538) .การดำรงอยู่ของการแพทย์พื้นบ้าน: กรณีศึกษาหมู่บ้านนาสีดา ตำบลข้าวปุ้น อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัด
อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิชัย โชควิวัฒน์. ( 2546). นโยบายและทิศทางการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

สามารถ จันทร์สูรย์. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางในการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้ง.

อานันท์ กาญจนพันธุ์ และคณะ. (2530). พิธีกรรมและความเชื่อล้านนา: การผลิตใหม่ของอำนาจทางศีลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุ
สภาลาดพร้าว.