พฤติกรรมเชิงลึกของนิสิตมหาวิทยาลัยในการสวมหมวกนิรภัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมเชิงลึกของนิสิตมหาวิทยาลัยที่มีต่อการสวมหมวกนิรภัย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นิสิตมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 56 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการณ์ (Observation) และสัมภาษณ์กลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะ (Focus group) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน จำนวน 3 กลุ่ม จากนั้นนำผลที่ได้จากกลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะชุดแรกมาเป็นประเด็นคำถามเพื่อค้นหาคำตอบในประเด็นเฉพาะที่ชัดเจนลงไปอีก โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักอีก 8 คน เป็นจำนวน 4 กลุ่มในการทำกลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะชุดที่สอง ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่มประกอบไปด้วยคำถามเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นต่อสังคมรูปแบบการดำรงชีวิต รูปแบบการสื่อสารความคิด ความรู้สึก แรงจูงใจและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและการสวมหมวกนิรภัย ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่มีความเห็นด้านบวกต่อสังคมของตน มีรูปแบบการดำรงชีวิตใน 2 ลักษณะ คือ เป็นกลุ่มกิจกรรมและกลุ่มสมาคม สื่อที่เข้าถึงได้มากที่สุด คือ สื่ออินเทอร์เน็ต ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดมีความคิดเห็นตรงกันว่า มาตรการทางกฎหมายและประสบการณ์ตรงเป็นสิ่งที่จะทำให้การรณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัย 100% ได้ผลมากที่สุด
Downloads
Article Details
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
References
ชีติพัทธ์ ขอนพิกุล, นภดล กรประเสริฐ, และปรีดา พิชยาพันธ์. (2558). การเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในมหาวิทยาลัย. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 2, (หน้า 1-5). ชลบุรี: ม.ป.ท.
ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือปฏิบัติการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาคน องค์กร ชุมชน สังคม = Qualitative methods: a field guide for applied research in human/organization/community and social development (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย.
ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (23 กรกฎาคม 2557). “ว๊าว ! โฆษณา”. MARKETEER MAGAZINE. วันที่ค้นข้อมูล 16 มกราคม 2561, จาก https://www.marketeer.co.th/archives/8732
ผู้จัดการรายสัปดาห์. (2559). การตลาดลูกค้าเด็ก ไม่เจ๋งก็เจ๊งแน่ วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=57243
ผู้จัดการรายสัปดาห์. เปิดผลวิจัยเจน Y ใครว่าเป็นตัวป่วนองค์กร. (2559). วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9500000090846
แพรวพรรณ โสมาศรี. (2556). การศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการอุดมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). Gen-B, Gen-X, Gen-Y, Gen-Z คืออะไร? เสี่ยงโรคอะไร?. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://wemahidol.mahidol.ac.th/comm/space.php?uid=79&do=blog&id=824
วฤดา วรอาคม. (2557) 5 อินไซต์เจเนอเรชั่นซี. กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/591770
วัฒนวงศ์ รัตนวราห. (2557) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยโดยใช้สมการโครงสร้างพื้นฐานทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในสังคมเมืองและชนบท (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). Human Insight ไม่ใช่แค่ Consumer Insight. กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://library.acc.chula.ac.th/PageController. php?page=FindInformation/ArticleACC/2555/Wilert/BangkokBiznews/B1507121
ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2559). Marketing 101: เข้าใจ Consumer Insight ด้วยหลัก 3s. Marketeer. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://marketeer.co.th/archives/75641
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. (2558) รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัย ทางถนน พ.ศ. 2558, วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559, จาก https://www.roadsafetythai.org/term-detail.php?id=42&cid=470
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2554). มติคณะรัฐมนตรี. วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559, จาก https://www.cabinet.thaigov.go.th/
องค์กรอนามัยโลก. (2558) รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน. วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559, จาก https://www.who.int/violence_injury_ prevention/road_safety_status/2015/GSRRS2015_Summary_Thai.pdf
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cody S. O. et al. (2016). Motorcycle helmet effectiveness in reducing head, face and brain injuries by state and helmet law. Retrieved September 2016, from https://injepijournal.springeropen.com/articles/10.1186/s40621-016-0072-9
Fong, M. C. et al. (2015). Rates of motorcycle helmet use and reasons for non-use among adults and children in Luang Prabang, Lao People’s Democratic Republic. Retrieved September 2016, from https://bmcpublichealth. biomedcentral.com/articles/10.1186/s12889-015-2304-2
Kauffman, J. M. (1997). Characteristics of emotional and behavioral disorder of children and youth (6th ed.). N.J.: Merrill/Prentice Hall, One Lake Street, Upper Saddle River.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2010). Marketing 3.0: from products to customers to the human spirit. Hoboken, N.J: Wiley.
Newcomb, T. M., et al., (1967). Persistence and change: Bennigton College and its students after 25 years, New York: Wiley.
Perreault, W.D., Cannon, J. P., and McCarthy, E. J. (2015). Essential of marketing, a marketing strategy planning approach. New York: McGraw-Hill Education.
Pickrell, T. M., & Li, R. (2016). Motorcycle helmet use in 2015-overall results. Retrieved September 2016, from https://crashstats.nhtsa.dot.gov/Api/Public/ViewPublication/812275
Positioning Magazine. (2554, 11 กุมภาพันธ์). ลึกสุดใจ…Consumer Insight แบบไหนถึงจะโดน... วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://positioningmag.com/13450
Positioning Magazine. (2558, 10 สิงหาคม) โจทย์การตลาดวัยรุ่น นับวันยิ่งยาก. วันที่ค้นข้อมูล 28 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=29883
Prochaska, J.O., Norcross, J.C., Diclemente, C.C. (2006). Changing for good. A revolutionary six-stage program for overcoming bad habits and moving your life positively forward. New York: Harper Collins Publishers
Safe Cycling. (1998). Motorcycle helmet research. Retrieved September 2016, from https://www.smarter-usa.org/documents/helmet-research-list.pdf
The IDM Content. (2015, 20 January) The 4 essential elements of true customer insight. Retrieved February 2017, from https://www.theidm.com/content-resources/blog/january-2015/the-4-essential-elements-of-true-customer-insight#
United Nations Economic Commission for Europe. (2016). The United Nations motorcycle helmet study. Retrieved September 2016, from https://www.unece.org/fileadmin/DAM/trans/publications/WP29/United_Nations_Motorcycle_Helmet_Study.pdf
Vroom, V. H. (1964). Work and motivation, New York: John Wiley & Sons.