การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ญาณิศา โคคะมาย
วีรพล วีรพลางกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขในการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  มีประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ทั้งหมด 4,764 ครัวเรือน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร      ยามาเน่ (Yamane) ได้จำนวน 370 ครัวเรือน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. 1. การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมภาพรวมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.23) จากการวิเคราะห์รายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการรับผลประโยชน์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบ คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ปัญหาขยะมูลฝอยลดลง ลดความเสื่อมโทรมของชุมชน และคนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (= 4.27) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการปฏิบัติการ (= 4.21) คนในชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองในชุมชน และการเผยแพร่ข่าวสารไปยังสมาชิกชุมชนยังไม่ทั่วถึงและสม่ำเสมอ

2. ปัญหา อุปสรรค พบว่า การเผยแพร่ข่าวสารไปยังประชาชนยังไม่ทั่วถึง แนวทางการแก้ไข คือ เพิ่มเติมจากการประชาสัมพันธ์แบบที่มีอยู่ คือ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook, Line และระบบเสียงไร้สาย (วิทยุชุมชน)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กานดา จินดามงคล. (2558). การจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลเมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
เชาว์ อินใย. (2543). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. เข้าถึงได้จาก :
https://www.gotoknow.org/posts. วันที่สืบค้น 2561, สิงหาคม 15.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ไทยเนรมิต-กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม. (2557). การมีส่วนของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ทศพักตร์ ใบปอด. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออุสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. ปีที่ 4. ฉบับที่ 1.
ธัญลักษณ์ กาวิชา. (2562, มกราคม-มีนาคม). หลักธรรมาภิบาลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2560. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 25(1), 118-132.
บัญหยัด โยธะกา. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลเมืองท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณทิตพัฒน บริหารศาสตร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.
เข้าถึงได้จาก: http://www.ogad.ago.go.th. วันที่สืบค้น 2561, สิงหาคม 20.
วันวิสา เยือกเย็น. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2551). นโยบายและสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.