นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรในภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

กัญณภัทร นิธิศวราภากุล
พานิช บัวสำอางค์
นรวัลลภ์ ชุมนุมนาวิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรในภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรในภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและเพื่อศึกษาผลการพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษของนักศึกษา กลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 20 คน ที่สมัครใจฝึกการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยการใช้ชุดฝึกการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ English Pronunciation จำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วยวิธีการออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและแบบฝึกหัดท้ายบท ชุดที่ 2 ประกอบด้วยวิธีการออกเสียงสระภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและแบบฝึกหัดท้ายบท


          เครื่องมือที่ใช้ประกอบการทดลองนี้ คือ ชุดฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษ English Pronunciation Sets จำนวน 2 ชุด เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ทางภาษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องและชัดเจนตามหลักการออกเสียง และแบบทดสอบการออกเสียง Pre-test และ Post-test ด้วยข้อความจำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน หาผลสัมฤทธิ์ในการออกเสียงตัวอักษรของนักศึกษาด้วยคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้ชุดฝึก


          นักศึกษามีศึกษาผลการพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรในภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะในด้านค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา หรือค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์/เนื้อหา (IOC: Index of item objective congruence) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน สรุปได้ดังนี้

                    เมื่อพิจารณาแต่ละข้อคำถาม พบว่า ข้อที่ 1 ด้านความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้ ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดแสดงว่าผู้วิจัยต้องปรับปรุงแก้ไข ส่วนข้อคำถามที่ 2 และ 3 ด้านความเหมาะสมของคำศัพท์ที่ใช้กับระดับของผู้เรียนและความเหมาะสมนำไปใช้ได้ และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของแบบฝึกหัดทักษะ พบว่าสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้องปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้


                    1) ควรศึกษาเสียงและตัวอย่างคำของแต่ละเสียงให้ถูกต้อง


                    2) ควรแยกหัวข้อให้ชัดเจนและถูกต้องเหมาะสม เช่น แยกเสียงพยัญชนะและเสียงสระ เป็นต้น


  1. ผลการพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ: ก่อนเรียน – หลังเรียน หลังจากที่ทดสอบนักศึกษาด้านการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนแล้ว ปรากฏผลดังนี้

                    หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะในแต่ละบทเรียนแล้ว นักศึกษามีทักษะการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น  อีกทั้งเมื่อนำคะแนนทั้งสองส่วนไปหาค่าทดสอบที (t-test) แบบ Dependent กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน พบว่า ผลผลการพัฒนาการออกเสียงตัวอักษรในภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2551.
กฤษณา ยอดมงคล. เอกสารประกอบการสอน 1535203 สัทศาสตร์และสรวิทยา 3(2-2-5) Practical English Phonetics and Phonology. เลย : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.
กรองแก้ว ไชยปะ. สัทศาสตร์อังกฤษและสรวิทยาเบื้องต้น. เลย : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2548.
จีรนันท์ เมฆวงษ์. การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
ดวงใจ ตั้งสง่า. ชวนลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตอนโฟนิคส์คืออะไร ทำไมต้องเรียน [Online]. เข้าถึงได้จาก http://taamkru.com/th/โฟนิคส์คืออะไร-ทำไมต้องเรียน/, 2555-2556. (15 กรกฎาคม 2557)
ณัฐฎา แสงคำ, แบบฝึกเสริมทักษะ. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.sahavicha.com/?name =media&file=readmedia&id=1667, 2553. (15 กรกฎาคม 2557)
มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. ออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างง่าย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2552.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. UTQ online e-Training Course UTQ – 2108 : กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ : 2555.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.