การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทอผ้าไหม บ้านหลุ่งประดู่ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาเทคนิคการถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านการทอผ้าไหมบ้านหลุ่งประดู่ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา2)เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านการทอผ้าไหมบ้านหลุ่งประดู่ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมางานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตและบันทึกผลจากการสัมภาษณ์และการสังเกตประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้นำชุมชนและกลุ่มสตรีทอผ้า เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆมาสรุปผลและอภิปรายผลในลำดับต่อไป
ผลการวิจัยพบว่า1)เทคนิคการถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านการทอผ้าไหม บ้านหลุ่งประดู่ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีวิธีการถ่ายทอดได้หลายทางโดยใช้เทคนิคการสาธิต การปฏิบัติจริง การบอกเล่าเพื่อให้ปฏิบัติตามซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นพลวัตจนเกิดการสั่งสมและพัฒนาความรู้การทอผ้าไหมอยู่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาผลงานของผู้ผลิตผ้าไหมแต่ละกลุ่ม ซึ่งแต่ละวิธีขึ้นอยู่กับองค์ความรู้และกลุ่มเป้าหมายที่จะรับการถ่ายทอด2)แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าไหม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมกลุ่มทอผ้าไหมให้มีความยั่งยืนและการสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้มีการเสริมสร้างความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และช่วยสืบสานสืบทอดเพื่อบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน การปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญา การบันทึกลวดลายผ้าไหม เพื่อเป็นหลักฐานและถ่ายทอดภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพบุรุษดำรงอยู่ต่อไป
Article Details
References
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2534). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาชนบท.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
เชียรศรี วิวิธสิริ. (2534). จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ : ภาคการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา ฉัตรเมืองปัก.(มิถุนายน 2555).การศึกษาวิเคราะห์ผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์,สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก http://thesis.swuthesis/Art_Ed/NitayC.pdt
ระวีวรรณ กิจโรจน์สกุล. (2557). ผ้าไหมหางกระรอก : การอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตเพื่อส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ละออ ไชยโยธา.(2551).ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมชุมชนตำบลโคกจานอําเภออุทุมพรพิสัยจังหวัดศรีสะเกษ.วิทยานิพนธ์ศิลปศสาตรมหาบัณฑิต. ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
สรังสี แก้วพิจิตร. (2551).ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการผลิตผ้าไหมปักธงชัยเพื่อพัฒนาเป็นสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปฐม นิคมานนท์. (2539). รายงานการวิจัยเรื่องการค้นหาความรู้และระบบการถ่ายทอดความรู้ในชุมชนชนบทไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนทร สุขไทย. (2549). รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ การสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. อุตรดิตถ์ : คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สมคิด อิสระวัฒน์. (2541). การเรียนรู้ด้วยตนเอง : กลวิธีสู่การศึกษาเพื่อความสมดุล.วารสารครุศาสตร์.27, 1 (กรกฎาคม-ตุลาคม).
สมโชค เฉตระการ.(2552). แนวทางการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของการพัฒนาอาชีพทอผ้าไหมตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีนิพนธ์สาขาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.