วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและกลวิธีการแต่ง ในวรรณกรรมจีนฉบับแปลไทยเรื่อง คนตายยาก (活着) ของ หยูหัว (余华)

Main Article Content

ภัชณภา สุขประเสริฐ
สราวุฒิ เขียวพฤกษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ โดยนำเสนอภาพเรื่องราวตั้งแต่ช่วงสงครามจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สองไปจนถึงช่วงการปฏิรูปประเทศและศึกษากลวิธีการแต่งของผู้ประพันธ์ในวรรณกรรมจีนฉบับแปลไทยเรื่องคนตายยาก (活着) ของหยูหัว (余华) โดยผู้วิจัยจะวิเคราะห์จากโครงเรื่อง กลวิธีการเล่าเรื่อง ตัวละครและฉาก


จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมนวนิยายเรื่องคนตายยาก ได้นำเสนอเรื่องราวชีวิตของตัวละครที่มีชื่อว่าฝูกุ้ย (福贵) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาพสะท้อนของสังคมจีนในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับชะตาชีวิตที่อยู่ท่ามกลางเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนี้ในส่วนของโครงเรื่องหรือเหตุการณ์ในเรื่องจะใช้กลวิธีการเล่าเรื่องโดยบุรุษที่ 1 ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องจากผู้เล่าซึ่งมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ กลวิธีในการดำเนินเรื่องแบบย้อนสลับกันไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันและกลวิธีในการปิดเรื่องหรือจบเรื่องแบบทิ้งข้อคิดให้คิดถึงความเป็นจริงในชีวิต ในส่วนของตัวละครจะใช้กลวิธีการนำเสนอตัวละครแบบของการบอกกล่าวโดยอ้อมผ่านสายตาและความคิดคำนึงของตัวละคร และในส่วนของฉากจะใช้กลวิธีใช้ฉากสมมติเป็นหลักมีการผสมผสานกับฉากจริงเข้าไปบ้างเล็กน้อย ซึ่งจากกลวิธีต่างๆที่ผู้ประพันธ์นำมาสร้างเป็นผลงานนั้นมีความสมจริงสื่ออารมณ์ได้รุนแรงและเข้มข้นทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้กลายเป็น 1 ใน 10 ของนวนิยายจีนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในทศวรรษ 1990

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2537). หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย
นเรศวร.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2543). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.(2556). กบฏวรรณกรรม:บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และการเมืองในวรรณกรรม.
กรุงเทพมหานคร : สมมติ
นิยม รัฐอมฤต และจาง ซีเจิ้น. (2560). จีน3มิติ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนาภรณ์ เหล่ายิ่งเจริญ.(2553). อดีตที่เล่าใหม่:การวิพากษ์สังคมและการเมืองจีนในนวนิยายยุคหลังการ
ปกครองของเหมาเจ๋อตง.วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต(วรรณคดีเปรียบเทียบ),
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระชัย โชคมุกดา.(2554). 150ปี ประวัติศาสตร์จีนยุค “ป่วยไข้” จากสงครามฝิ่นสู่มหาอำนาจโลก.
กรุงเทพมหานคร : ยิปซี.
ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์. (2549). การปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของชนชั้นกรรมาชีพในสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ.
1966-1969.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริพร ดาบเพชร. (2560). แนวคิดผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงของจีนในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมและสมัยปฏิรูป.
วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 20(20). 257-270.
หยูหัว. (2552).คนตายยาก.แปลจาก 活着.แปลโดยรำพรรณ รักศรีอักษร.กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์เอโน
เวล.
อัจฉรา เทพเกษตรกุล.(2553). อุปสรรคและความหมายของการมีชีวิตอยู่และการตายจาก จากหนังสือคนตาย
ยากของหยูฮว่า. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.3(3), 89-101.