การคิดทางประวัติศาสตร์: ทักษะสำคัญของนักศึกษาครูสังคมศึกษา

Main Article Content

พิชาติ แก้วพวง

บทคัดย่อ

เป้าหมายสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ คือ พัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์                  โดยสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน แล้ววิเคราะห์ที่มา เหตุ และผลที่เกิดขึ้น                    เพื่อนำไปสู่การวางแผนอย่างรอบคอบสำหรับอนาคต รวมทั้งเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรักชาติ รักแผ่นดินเกิด ตระหนักในความเสียสละของบรรพบุรุษ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม แต่การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยยังพบปัญหาอยู่ โดยเฉพาะสถาบันการฝึกหัดครู พบว่า นักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษาส่วนใหญ่ขาดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ นักศึกษาครูบางคนไม่เคยเรียนรู้ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ ทั้งจากการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์และ               การเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผลของการศึกษาจึงไม่บรรลุเป้าหมายทางประวัติศาสตร์และการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์  สำหรับนักศึกษาครูสังคมศึกษาผู้ที่จะทำหน้าที่สอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ควรได้รับการพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดทักษะ  การคิดทางประวัติศาสตร์ต่อไป


แนวทางการแก้ปัญหาที่สำคัญ  คือ การนำวิธีการทางประวัติศาสตร์  ซึ่งเป็นวิธีการที่นักประวัติศาสตร์ใช้ในการค้นคว้าหาคำตอบมาเป็นวิธีการเรียนของนักศึกษาครู โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์และกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงเป็นแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดของนักศึกษาครูสังคมศึกษา  ผู้ซึ่งจะเป็นต้นแบบของครูสอนประวัติศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมวิชาการ. (2544). ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนสังคมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (เอกสารอัดสำเนา)
กิตติศักดิ์ ลักษณา. (2558). การพัฒนาการคิดทางประวัติศาสตร์ในระดับประถมศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยายในงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 8.
คุรุสภา. (2542). ชุดฝึกอบรมการพัฒนาอาชีพครูตามเกณฑ์มาตรฐานมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของคุรุสภา.
ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณพร บุญญาสถิตย์. สัมภาษณ์, 13 กันยายน 2560.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2541). ประวัติศาสตร์กับการศึกษา. รวมบทความประวัติศาสตร์ฉบับที่ 20.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2544). ครูกับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทย. ในประวัติศาสตร์ไทยจะเรียนจะสอนกันอย่างไร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศาสนา.
สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดประเมินผลวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
สนธยา สัจจะธีระกูล. (2546). ความสามารถในการใช้ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักศึกษาสายวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2555). ประมวลสาระชุดวิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2552). ความคิดทางประวัติศาสตร์และวิธีวิทยาวิจัย. สงขลา : นำศิลป์การพิมพ์.
Barton, K. C., and Linda S. Levstik. (2004). Teaching History for the Common Good. Mahwah, NJ:
Erlbaum.
Benjamin. J. R. (1979). A Student's Guide to History. (Paperback)
Buchana, L. B. (2015). Fostering Historical Thinking toward Civil Rights Movement Counter-Narratives: Documentary Film in Elementary. The Social Studies. (106): 47-56.
Clark, L.H. (1973). Teaching Social Studies in Secondary Schools: A Hand Book. New York: Macmillan.
Daniels. R. V.( 1966). Studying History: How and Why. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Fenton, E. (1967). The New Social Studies. New York: Holt Rinehart and Winston.
Foster, Stuart J., and Elizabeth A. Yeager. (1998). The Role of Empathy in the Development of Historical Understanding. International Journal of Social Education. 13, 1–7.
Gottschalk, L. (1956). Understanding History: A Primer of Historical Method, Alfred A. Knopf: New York.
Lévesque, S. (2009). Thinking Historically: Educating Students for the Twenty-first Century. Toronto: University of Toronto Press.
Marwick, A. (1974). The Nature of History. New York: Dell Publishing.
National Center for History in the Schools. Historical Thinking Standards. [Online]. Available from: http://www.nchs.ucla.edu/about. [May 3, 2016].
National Center for History in the Schools. (1996). National standards for history: Basic edition. Los Angeles, CA: National Center for History in the Schools at the University of California.
Nye, A. et al. Exploring Historical Thinking and Agency with Undergraduate History Students. Studies in Higher Education. Vol. 36, No 7, November, 763-780.
Organization of American Historians. National History Standards, Part I: Standards in Historical Thinking [Online]. Available from: http://www.oah.org/pubs/magazine/standards [August 18, 2007]
Seixas, P., & Morton, T. (2013). The Big Six: Historical Thinking Concepts. Toronto: Nelson Education.
VanSledright, Bruce A. (2002). In Search of America’s Past: Learning to Read History in Elementary School. New York: Teachers College Press.