พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยว วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Main Article Content

สราวุฒิ เขียวพฤกษ์
วีรภัทร ภคพงศ์พันธุ์
กิตติพันธ์ วงษ์ทองคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ในการเดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามของนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุประมาณ 20 - 29 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาและปริญญาตรี โดยพฤติกรรมการท่องเที่ยวนิยมเดินทางมากับเพื่อนมากที่สุด ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่อคนในการเดินทางมาท่องเที่ยววัดพระศรีรัตนศาสดารามส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเป็นเงินประมาณ 150 – 200 หยวน (755 - 1006 บาท) ภาพรวมความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในด้านความปลอดภัย ด้านแหล่งท่องเที่ยวด้าน   สิ่งอำนวยความสะดวก และด้านคมนาคม พบว่ามีความพึงพอใจในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2548).รายงานสถิติประจำปี 2548. กรุงเทพฯ : กรมฯ.
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดําเนินงานของสหกรณ์การเกษตร ไชยปราการจํากัด อําเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีพงษ์ หินคา. (2541). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานสุขาภิบาลริมใต้ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนียา ปัญญาแก้ว. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของข้าราชการครู ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธานินทร ศิลปจารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะหขอมูลทางสถิติดวย SPSS. กรุงเทพฯ : วี.อินเตอรพริ้นท.
น้ำฝน จันทร์นวล. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาาคม – ธันวาคม 2556.
ไพฑูรย์ พงศะบุตร และวิลาสวงศ์ พงศะบุตร. (2542). คู่มือการอบรมมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรัตน์ สุระศิรานนท์. (2556). การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบแบ็คแพ็คเกอร์ ต่อการเลือกร้านอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล นายภูริเชษฐ์ กฤตยานุกูลและนายทัตเทพหนูสุข. (2558). พฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อความปลอดภัยทางถนนสําหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิรุฬ พรรณเทว. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงาน กระทรวงมหาดไทยในอําเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม (2541). ความพึงพอใจในการรับบริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อัจฉรา สมบัตินันทนา (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2560). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2560. สืบค้นจากhttp://mots.go.th/more_news. php?cid=414 &filename=index. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2546-2560). วัดพระศรีรัตศาสดาราม.สืบค้นจาก http://www.thai.tourismthailand.org ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2559). เจาะลึกทุกมุม “นักท่องเที่ยวจีนสไตล์ FIT” โอกาสมหาศาลของ “แบรนด์ไทย” ที่ไม่ควรมองข้าม!!. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/05/chinese-tourist-trends-and-opportunities-for-thai-brand/. ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2560). วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. สืบค้นจากhttps://www.tourismthailand.org/ static-page/staticpage/page-20009. ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560.
ผู้จัดการออนไลน์. (2550). “ท้าวมหาพรหม”สุดฮิตคนจีนมาไหว้! เชื่อขออะไรได้ทุกอย่าง-เอกชนวอนททท.เพิ่มโปรแกรมทัวร์. สืบค้นจากhttp://www.manager.co.th/euro2004/ViewNews.aspx?NewsID=9500000134697. ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (2560). วิกฤตรถเมล์ไทย. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_635247. ค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2871 นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยไตรมาส 4 ปี 2560 ยังมีแนวโน้มบวกต่อเนื่อง ... คาดทั้งปีน่าจะมีจำนวนกว่า 9.70 ล้านคน. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/k-econanalysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=36568. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560.
สำนักพระราชวัง. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าชมพระบรมมหาราชวัง. สืบค้นจาก http://www.brh.thaigov.net/ webboard/index.php?topic=14.0. ค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2546). ความหมายการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก www.tourism.go.th. ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560.